การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสิงห์บุรี แห่งที่ 1 วัดอัมพวัน

ผู้แต่ง

  • พระนรินทร์ โชติปาโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ธิลาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาการบริหารจัดการ, สำนักปฏิบัติธรรม, วัดอัมพวัน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ศึกษากระบวนการบริหารและนำเสนอการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสิงห์บุรี แห่งที่ 1 วัดอัมพวัน วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลภาคสนาม จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 รูป/คน ผู้วิจัยนำไปวิเคราะห์แบบพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการบริหารจัดการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 2. กระบวนการบริหารจัดการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49 พบว่า ด้านสถานที่ มีความพร้อมในการรับรองผู้ปฏิบัติธรรม จัดที่พักเหมาะสมกับสถานการณ์ ด้านวิทยากร วิทยากรมีความประพฤติดี เป็นแบบอย่างที่ดีได้ มีวัตรปฏิบัติน่าเลื่อมใส ด้านบริหารจัดการ มีการจัดตารางเวลาปฏิบัติธรรมไว้อย่างชัดเจนต่อเนื่องตลอด ทั้งปี มีกฎและ ระเบียบชัดเจน 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ ควรจำกัดจำนวนผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่พัก ด้านวิทยากร ควรเพิ่มวิทยากรที่ดูแลการปฏิบัติให้มากขึ้น ควรเพิ่มเวลาบรรยายธรรมและตอบคำถาม ด้านการบริหารจัดการ ควรเพิ่มบุคลากรทุก ๆ ฝ่ายให้มากขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับปริมาณงาน ปรับปรุงมาตรฐานการให้บริการให้มากขึ้น

References

คณะสงฆ์วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี. (2559). ฐิตธัมมานุสรณ์. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งเรืองวิริยะพัฒนาโรงพิมพ์ จำกัด.

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2563). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูภาวนาคุณาภรณ์ (ทรงศักดิ์ กิตฺติธโร). (2565). รูปแบบการบริหารจัดการวัดที่เป็นสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสระบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรน์, 11(2), 338-351.

พระครูวิจิตรธรรมวิภัช (บุญเลิศ ปญฺญาวุโธ). (2562). การพัฒนาการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพิพัฒน์ โสภณจิตฺโต ทับงาม และคณะ. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักปฏิบัติธรรม ประจำจังหวัดอ่างทอง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางปัญญา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1), 223-232.

พระมหาไชยณรงค์ ภทฺทมุนี (เสริมแก้ว). (2560). การพัฒนาการบริหารจัดกรสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่นในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 2 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหานพดล ปุญฺญสุวฑฺฒโก. (2560). ประสิทธิผลการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรน์, 6(2), 1-16.

พระวิชชุกร ติสรโณ. (2555). ความพึงพอใจต่อการบริหารสำนักปฏิบัติประจำจังหวัดสิงห์บุรี แห่งที่ 1 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนตร์ธัช ยานันท์บุญสิริ. (2565). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(6), 2384-2396.

ระเบียบมหาเถรสมาคม (พ.ศ. 2558) ว่าด้วยสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด. (16 ตุลาคม 2558). 1-4.

วัดอัมพวัน. (2560). ระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ธนชัยรุ่งเรืองพัฒนา จำกัด.

_______. (2565). บัญชีสำรวจผู้เข้าปฏิบัติธรรมวัด เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน ปี 2565. สิงห์บุรี: วัดอัมพวัน.

วิง รอดเฉย. (2554). คู่มือการฝึกอบรมพัฒนาจิต วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี.กรุงเทพฯ: หจก.วิริยะพัฒนาการโรงพิมพ์.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd Edition). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31