การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองในจังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
หลักสังคหวัตถุ 4, ความนิยมทางการเมือง, นักการเมืองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมือง 2. ศึกษาองค์ประกอบของการส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมือง และ3. นำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมือง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอในลักษณะพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไปและปัญหาอุปสรรค พบว่าประชาชนมีความนิยมเลือกนักการเมืองกลุ่มดั้งเดิม ผู้นำเดิมเป็นคนในพื้นที่มายาวนาน จึงเกิดความเชื่อถือและไว้ใจในการตัดสินใจเลือกนักการเมืองกลุ่มเดิม หาเสียงกับประชาชนแล้วไม่สามารถทำตามสัญญาได้ อุปสรรคการสร้างรายได้ให้กับประชาชนยังไม่ทั่วถึงความเจริญกระจุกตัวอยู่ในตัวจังหวัด 2) องค์ประกอบของการส่งเสริมความนิยมทางการเมือง มีความรับผิดชอบในการเข้าถึงประชาชนโดยสร้างสาธารณะประโยชน์ให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ 3) การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความนิยมทางการเมือง หลักสังคหวัตถุ 4 เป็นแนวประพฤติปฏิบัติ ทาน การให้ที่ยิ่งใหญ่ ปิยวาจา การพูดอย่างสร้างสรรค์ อัตถจริยา รับผิดชอบต่อชีวิตของตนและทุกคนในชุมชนทุกคน สมานัตตตา มีน้ำใจปรารถนาเพื่อประโยชน์สุขที่เกิดขึ้นต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2539). อนาคตผุ้นำการเมืองไทยในสองทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
ชุติพนธ์ วงษ์อมรวิทย์ และคณะ. (2563). การเสริมสร้างจริยธรรมทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(4), 14-26.
นิรันดร์ กุลฑานันท์. (2549). นักการเมืองถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์. นนทบุรี : นครปฐมการพิมพ์.
ประคอง มาโต และคณะ. (2565). การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี, วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 115-128.
พระถวิล เทวสโร (สิงห์เทพ) และคณะ. (2558). การบริหารงานตามหลักราชสังคหวัตถุ 4 ของเทศบาลตำบลโนนทอง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 3(1), 71-86.
ภูริวัจน์ ปุญรวุฒิปรีดา. (2557). การพัมนาเชิงพุทธเพื่อการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, 16(47), 141-158.
วรยุทธ สถาปนาศุภกุล. (2560). คุณลักษณะผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของประชาชนอำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), 245-253.
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์ และนพพล อัคฮาด. (2557). ความนิยมของคนอีสานที่มีต่อพรรคเพื่อไทย: ศึกษากรณีจังหวัดขอนแก่น. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(1), 76-100.
สะถิระ เผือกประพันธุ์. (2558). ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ของนักการเมืองท้องถิ่นมีผลต่อการสื่อสารทางการเมืองท้องถิ่นมีผลต่อการสื่อสารทางการเมืองของประชาชน : กรณีศึกษาการปกครองท้องถิ่น จ.ชลบุรี. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 7(1), 181-208.
สุมาลี บุญเรือง และเติมศักดิ์ ทองอินทร์. (2565). การเสริมสร้างและปลูกฝังจิตสำนึกค่านิยมวัฒนธรรมทางการเมืองภาคพลเมือง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(1), 240-254.