ประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • พระครูธีรภัทรจารี (พิชิต ธีรภทฺโท) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสุธีกิตติบัณฑิต (กฤษฎา กิตฺติโสภโณ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุภัทรชัย สีสะใบ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การจัดการเรียนการสอน, วิชาพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นของนักเรียน
2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียน และ 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 249 คน ซึ่งเป็นนักเรียนในโรงเรียน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน และในเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. นักเรียนที่มีเพศ อายุ และระดับชั้นเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวม แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนนักเรียนที่มีผลการสอบธรรมศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3. ปัญหา อุปสรรค คือ พระสอนศีลธรรมมีเวลาสอนน้อย ขาดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ นักเรียนขาดความรู้ทางธรรม ไม่มีสมาธิ ไม่ตั้งใจเรียนมีพฤติกรรมเชิงลบ และข้อเสนอแนะ คือ ควรมีแนวทางการพัฒนา ประชุม จัดตั้งคณะกรรมการ วิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขร่วมกัน สร้างทัศนคติในเชิงบวกและความสัมพันธ์ที่ดีในชั้นเรียน ยึดหลักไตรสิกขา เน้นความรู้คู่คุณธรรม

References

กลุ่มสารสนเทศ. (2564). ข้อมูลนักเรียน ปีการศึกษา 2564. สืบค้น 21 กรกฎาคม 2564, จาก https://data.bopp-obec.info/emis

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย : Basic Statistics and Research. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไชยยา เมืองแทน. (2561). การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมตอนต้นโรงเรียนธรรมบวรวิทยา จังหวัดสกลนคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูบวรชัยวัฒน์ (วันชัย เมธิโก) และคณะ. (2562). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อคุณลักษณะครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2), 1033-1034.

พระครูสมุห์ดิฐภูมิ จิรธมฺโม. (2561). สภาพการจัดการศึกษาธรรมศึกษาในอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระทวีศักดิ์ เตชธโร. (2561). ประสิทธิภาพการจัดการการศึกษาธรรมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต. (2541). ทางสายอิสรภาพของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระปลัดอนุวัฒน์ อนาวิโล. (2561). ผลสัมฤทธิ์การสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธวัชชัย วชิรปญฺโญฃ. (2561). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนด้านความรับผิดชอบ ในการเรียน สาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการกรีฑา จนฺทวํโส. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15