แนวทางการนำหลักพุทธจริยธรรมมาใช้พัฒนาผู้นำทางการเมือง

ผู้แต่ง

  • ศุภมา จิตต์เที่ยง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธวัชชัย ผลสะอาด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักพุทธจริยธรรม, ผู้นำ, การเมือง

บทคัดย่อ

บทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาและเข้าใจถึงความหมายของพุทธจริยธรรมสำหรับผู้นำทางการเมือง การปลูกฝังพุทธจริยธรรมสำหรับผู้นำทางการเมือง ในที่นี้ผู้เขียนมุ่งเขียนถึงหลักสัปปุริสธรรม คือธรรมของคนดีที่เหมาะสม ควรจะมี ควรจะเป็น หรือควรจะประพฤติปฏิบัติเป็นสำคัญสำหรับผู้นำทางการเมือง ปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมนิยมวัตถุ ทิศทางการเปลี่ยนแปลงสังคมอาจเป็นไปได้ทั้งในเชิงบวก หรือเชิงก้าวหน้าส่งผลแก่ผู้อยู่ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลง ไปได้ในทางตรงกันข้ามด้านเชิงลบหรือเชิงถดถอย พระพุทธศาสนามีหลักคำสอนสำคัญเพื่อมุ่งพัฒนาบุคคลให้มีความรู้มีปัญญาอย่างแท้จริงที่เกี่ยวกับชีวิต สังคมทำให้คนห่างจากหลักพุทธธรรมต่างมุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์โดยมิได้คำนึกถึงหลักพุทธจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิตอันเป็นวิธีการหรือเครื่องมือในการสู่จุดมุ่งหมายอันเป็นประโยชน์สูงสุด เป็นเป้าหมายของชีวิต และเป็นอุดมคติของชีวิต ครอบคลุมถึงเกณฑ์ตัดสินว่าการกระทำใดดีหรือไม่ดี ควรหรือไม่ควร ด้วยเหตุนี้หากผู้นำขาดซึ่งจริยธรรมย่อมทำให้ชุมชน สังคม และประเทศชาติเกิดความเสียหายได้ จริยธรรมของผู้นำจึงถือเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญเพราะฉะนั้นผู้นำจึงจำเป็นที่จะต้องมีจริยธรรมของผู้นำทางการเมืองเพื่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองผู้อื่นและสังคมโดยส่วนรวม

References

ธนภัทร จันทร์เรือง. (2556). ความคิดเห็นของข้าราชการกรุงเทพมหานครต่อจริยธรรมของนักการเมืองท้องถิ่น (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญทัน ดอกไธสง. (2552). ประชาธิปไตยรากหญ้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

พระครูโสภณสุตากร (ณัฏฐ์ณภัทร ฆ้องพาหุ) และคณะ. (2564). พุทธจริยธรรมสำหรับผู้นำทางการเมือง. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธ

วิกสิตาราม, 6(1), 215-224.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). ถึงเวลามารื้อปรับระบบพัฒนาคนกันใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2541). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2523). จริยธรรม : แนวทางการพัฒนาจริยธรรมการประชุมเชิงวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

มนตรี ธีรธรรมพิพัฒน์. (2540). จริยธรรมกับภาวะผู้นำ: ศึกษาทัศนะนักวิชาการรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยที่มีต่อผู้นำทางการเมือง (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.

วิทย์ วิทศเวทย์. (2530). จริยศาสตร์เบื้องต้น มนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์. (2561). จริยธรรมของนักการเมืองในระบบการเมืองไทย. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 1(2), 51-68.

สมโภชน์ สุวรรณรัตน์ และคณะ. (2560). การสร้างความสามัคคีในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบด้วยหลักพุทธธรรม. วารสารสมาคมนักวิจัยแห่งประเทศไทย, 22(2), 191-203.

สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2550). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15