วัด : สถานที่ทิ้งขยะศักดิ์สิทธิ์และขยะมีชีวิต
คำสำคัญ:
ขยะศักดิ์สิทธิ์, ขยะมีชีวิต, วัดในพระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาขยะชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อวัด ซึ่งชุมชนได้ผลักภาระการจัดการขยะให้กับวัดและพระสงฆ์ โดยมีการเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีวัดเป็นสถานที่ทำกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน และพัฒนาขัดเกลาจิตใจฝึกคนให้เป็นคนดีของสังคม แต่ปัจจุบันนี้วัดกลายเป็นสถานที่ทิ้งขยะ 2 ประเภท คือ ขยะมีชีวิต และขยะศักดิ์สิทธิ์ ขยะมีชีวิต ได้แก่ หมา แมวที่ถูกทอดทิ้ง เป็นต้น ขยะศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ พระพุทธรูปคอหัก คอขาด แขนขาด ตุ๊กตาลูกเทพและกุมารทองชำรุด รูปปั้นเทพเจ้าต่าง ๆ ที่มีสภาพชำรุด เป็นต้น ขยะเหล่านี้ได้ถูกนำมาทิ้งไว้ให้วัดรับผิดชอบ เพราะเชื่อว่าขยะศักดิ์สิทธิ์มีความอาถรรพ์เป็นสิ่งไม่ดีต่อคนในครอบครัวต้องนำไปทิ้งวัด เชื่อว่าพระสงฆ์มีความเมตตาค้ำจุลโลกต่อขยะมีชีวิตเมื่อเจ้าของไม่รักสัตว์เลี้ยงของตัวเองแล้วก็นำไปทิ้งวัด โดยพระสงฆ์จะคอยดูแลให้อาหารต่อขยะมีชีวิตเพื่อมีชีวิตดำรงอยู่ต่อไป และจัดการเก็บกวาดทำความสะอาดให้กับขยะศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้พุทธสถานน่าอยู่ไม่รกร้างหรือสกปรก
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข. (2566). พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ พิษสุนัขบ้าอันตรายถึงชีวิต. สืบค้น 23 มิถุนายน 2566, จาก https://datariskcom-ddc.moph.go.th
กระปุกดอทคอม. (2559). เจ้าอาวาสวัดดังฉะเชิงเทรา แจงภาพหิ้วลูกหมาโยนลงน้ำแค่จับอาบน้ำกำจัดเห็บหมัด. สืบค้น 23 มิถุนายน 2566, จากhttps://pet.kapook.com/view158666.html
ข่าวไทยรัฐออนไลน์. (2560). ยิ่งแข่งกันรวย คนไทยยิ่งบ้างเครื่องรางของขลัง. สืบค้น 23 มิถุนายน 2566, จาก https://www.thairath.co.th/news/foreign/1159735
ฉลอง ช่วยธานี. (2559). ความรู้เรื่อง...ฐานะนิติบุคคลของวัด. สืบค้น 23 มิถุนายน 2566, จาก https://www.winnews.tv/news/2791
ไทยรัฐออนไลน์. (2566). สาวอัดคลิปคนส่งของพกไม้ไล่ตีหมา เจอสวนกลับ “เดี๋ยวจะหวดทั้งคนทั้งหมด”. สืบค้น 23 มิถุนายน 2566, จาก https://shorturl.asia/dowpc
ปริญญาวัน ชมเสวก. (2564). แนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสุนัขจรจัด : ศึกษากรณีที่มีการร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: สำนักงานตรวจการแผ่นดิน.
ปิยะมาศ คงถึง และคณะ. (2549). การศึกษาประชากรสุนัขจรจัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่สัตวแพทยสาร. 4(1), 58-59.
พนมพร แสนประเสริฐ. (2563). ปัญหาการทอดทิ้งสัตว์ในสังคมไทยกับแนวคิดประโยชน์นิยม. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 7(2), 176-178.
พระศรีสิทธิวิเทศ (ธวัชชัย ธมฺมชโย) และพระมหานิมิตร ฐิตปญฺโญ. (2563). วิวัฒนาการวัดในพระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(3), 76.
YouTube. (2556). ลูกหมาถูกนำมาทิ้งวัด. สืบค้น 23 มิถุนายน 2566, จาก https://www.youtube.com/watch?v=GegaGaKaMdU
โรเจอร์ โลหะนันท์. (2563). แก้อย่างไร หมา-แมว จรจัดทั่วไทยกว่า 1 ล้านตัว เก็บภาษี กำจัด ไม่ใช่ทางออก. สืบค้น 23 มิถุนายน 2566, จาก https://shorturl.asia/IAaRo
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2551). เจาะลึกพลัง มูเตลู Soft Power ของไทยที่สร้างรายได้สะพัดมหาศาล. สืบค้น 23 มิถุนายน 2566, จาก https://thestandard.co/key-messages-mutelu-amulet-and-commercial-buddha/
สำงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (2566). ระบบทะเบียนวัดทั่วประเทศไทย. สืบค้น 23 มิถุนายน 2566, จาก http://binfo.onab.go.th/Temple/Dashboard.aspx