ผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PWIM ต่อความสามารถในการเขียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้แบบ PWIM, คะแนนการเขียนภาษาญี่ปุ่น, แบบวัดความพึงพอใจบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบการเขียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปี ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM 2. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนโนนสูงศรีธานี อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 19 คน เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ PWIM จำนวน 1 แผน 13 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบการเขียนแบบอัตนัยสำหรับการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบวัดความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลของแบบทดสอบการเขียนใช้เกณฑ์การให้คะแนน (Rubric) และการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบคะแนนการเขียนภาษาญี่ปุ่นโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ PWIM ต่อความสามารถในการเขียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ PWIM อยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ:กระทรวงศึกษาธิการ.
______. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กำชัย ทองหล่อ. (2554). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4 .). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
ประณต นาคะเวช. (2564). ศึกษาการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
พวงเพ็ญ อินทรประวัติ. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนจากภาพด้วยวิธีอุปนัย (Picture Word Inductive Model – PWIM). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สถาบันภาษาแจแปนฟาวเดชั่น. (2565). ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย. สืบค้น 6 ตุลาคม 2565, จาก http://jfbkk.or.th
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ ภาษาญี่ปุ่นและภาษาเยอรมัน ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุพัตรา ศรีธรรมมา และ อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการ จัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับแผนผังความคิด. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(1), 266-280.
สุวรรณา จุ้ยทอง. (2562). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงผลิตภาพรายวิชาหลักการจัดการเรียนรู้คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 31-46.
แสงระวี ดอนแก้วบัว. (2558). ภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.