การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • เดชา วงค์สา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ศักดิ์ดา งานหมั่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, สาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์, แบบฝึกเสริมทักษะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ และ 2. ศึกษาความพึงพอใจการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเวลาโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงทดลองประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 70 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 37 คน ซึ่งได้สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงมา 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลัง และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้

ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะมีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ย 14.24 และหลังเรียนเฉลี่ย 24.73 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภูมิศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเวลาโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยพบว่า ผลรวมของระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านประโยชน์ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านบรรยากาศการเรียนรู้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เทิดพล วงษ์รักษา. (2553). การพัฒนาการเรียนการสอนโดยการใช้แผนที่ความคิด (Mind Map) มาประกอบการเรียน การสอนวิชาสังคมศึกษา 2 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 ภาคเรียนที่ 2/2553 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี.

ปนิตา ประทุมสุวรรณ. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจของสามเณร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบซินดิเคทร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก. วารสารอินทนิลทักษิณสาร, 9(2), 157-180.

พระวิทูล สาสีมา. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกการคิดวิเคราะห์ เรื่องหลักธรรมนำความสุข กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (รายงานการวิจัย). ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

รจนา ป้อมแดง. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และเวลาโลก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังมโนทัศน์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 (รายงานการวิจัย). อุบลราชธานี: โรงเรียนอนุบาลน้องหญิง.

รัตนดาวรรณ ชาตรี. (2562). การจัดการเรียนรู้เทคนิค 3 P โดยใช้แบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 2(6), 97-105.

รุ่ง แก้วแดง. (2542). ปฏิบัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.

วไลพร คุโณทัย. (2530). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: กรมการฝึกหัดครู.

วัลลี สัตยาศัย. (2547). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักรูปแบบการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: บุ๊คเน็ท.

อุเทน ปัญโญ. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยนอร์ท.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-25