การบริหารจัดการด้านศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, พระสังฆาธิการ, ศึกษาสงเคราะห์, แจกทุนการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการด้านศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 8 รูป และสำรวจเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่น 0.962 กับกลุ่มตัวอย่าง 368 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรีเขต 1 และโรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.83, S.D.=0.642) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้งสองด้าน 2. ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ผู้ปกครองที่มีเพศ มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็น โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนผู้ปกครองที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็น โดยภาพรวมแตกต่างกัน จึงเป็นไปตามสมมติฐาน 3. ปัญหา อุปสรรคที่มี พบว่า ในโรงเรียนการกุศลปัจจุบัน การบริหารงบประมาณและการบริหารสินทรัพย์ยังขาดความเชื่อมโยงในการวางแผน ชุมชนไม่ได้มีบทบาทในการจัดการศึกษาอย่างเต็มที่ จำนวนนักเรียนไม่เพียงพอทำให้เณรไม่สามารถเรียนร่วมกับนักเรียนทั่วไปได้ พระสังฆาธิการไม่ให้ความสนใจ เพราะเห็นว่าเป็นภาระที่ผูกพัน และระบบการสงเคราะห์ยากจนขาดที่พึ่งของคณะสงฆ์ไม่เป็นระบบ
References
พระครูปลัดอาทิตย์ อตฺถเวที. (2547). การศึกษาแนวคิดและวิธีการปกครองคณะสงฆ์ของพระเทพโสภณ (ประยูร ธมมจิตโต) ศึกษาเฉพาะกรณีพระสังฆาธิการในเขตปกครองภาค 2 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสังฆรักษ์พศวีร์ ธีรปญฺโญ. (2551). บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์: ศึกษากรณีพระสังฆาธิการในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุนทรสารวาที (ทองดี ญาณสาโร). (2565). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระสังฆาธิการ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(1),113-125.
พระครูอุทัยกิจจารักษ์ (สุรางค์ สุจิณฺโณ). (2557). รูปแบบการบริหารจัดการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองคณะสงฆ์ภาค 2 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระใบฎีกามานะ สุเมธโส. (2556). การบริหารจัดการด้านการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ จังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพงษ์เล็ก ธมฺมทินฺโน และคณะ. (2564). แนวทางการส่งเสริมการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดบึงกาฬ. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์, 2(2), 1-10.
วุฒิชัย มลศิลป์. (2516). การปฏิรูปการศึกษาในรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
พระบัณฑิต ญาณธีโร. (2551). ภาวะผู้นําของพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺ โต) ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธนดล นาคสุวณฺโณ. (2551). การบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสังฆรักษ์พศวีร ธีรปญฺโญ. (2551). บทบาทของพระสังฆาธิการในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ : ศึกษากรณีพระสังฆาธิการในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.