แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์จากชุมชนสู่สากล

ผู้แต่ง

  • จิรภา สุชนวณิช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อุตสาหกรรมไมซ์, ชุมชน, สู่สากล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของไทยสู่สากล เนื่องจากอุตสาหกรรมไมซ์ หรือ MICE สังกัดสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) เป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจอย่างมากในหลายประเทศ และประเทศไทยที่ริเริ่มการพัฒนาอย่างจริงจังในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยมีความได้เปรียบเชิงการแข่งขันโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวในระดับชุมชนและท้องถิ่นที่มีความเข้มแข็งจนสามารถชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในหลายพื้นที่ทั้งนี้การขยายตัวของอุตสาหกรรมไมซ์ หรือ MICE ในชุมชนทั้งภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน และภาคกลางล้วนแล้วแต่มีความแตกต่างไปด้วยภูมิศาสตร์ทางพื้นที่ วัฒนธรรม ความเชื่อ และประเพณีนิยม ทำให้ความสนใจแต่ละจุดและความแตกต่างของผู้ร่วมงานมิได้หยุดอยู่กับที่ใดที่หนึ่งซึ่งชุมชนไทยสามารถพัฒนาแบบก้าวกระโดด ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) อาจจะต้องวิเคราะห์จุดร่วมและจุดต่างเพื่อความหลากหลายของกิจกรรม การนำเสนอเรื่องราวเพื่อเชิญชวนและประชาสัมพันธ์ การสร้างอิทธิพลงทางความคิด จากพื้นฐานทางวัฒนธรรม และลักษณะพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ เช่น ภาคเหนือควรได้รับการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมทั้งพระพุทธศาสนา ภาคกลางควรได้รับการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม อารยธรรมความเก่าแก่ของอารยธรรมสุโขทัย อยุธยา ภาคอีสานควรได้รับการส่งเสริมกิจกรรมความเชื่อที่ผูกโยงกับวิถีชีวิตพื้นบ้าน รวมทั้งประเพณีต่าง ๆ และภาคใต้ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับหนังตะลุง

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรมวิถีชีวิตและภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ: บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2561). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนท่ามะโออำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 6(1), 131-148.

จันทร์ทิพย์ ลิ่มทอง. (2554). การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาภาคสนาม: ภาคกลาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดุษฎี ช่วยสุข และดลฤทยั โกวรรธนะกุล. (2558). การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ในจังหวัดขอนแก่นเพอรองรับการเป็นไมซ์ซิตี้ของประเทศไทย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(1), 15-29.

บริษัท แดช เอ็มวี จำกัด. (2565). รู้จักกับธุรกิจไมซ์ (MICE) ทำไมถึงมีความสำคัญ. สืบค้น 9 มิถุนายน 2565, จาก https://www.dashmv.com/what-is-mice

ผาสุข อินทราวุธ. (2545). ร่อยรอยวัฒนธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย ฉบับครูสังคม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พิพัฒน์ จรัสเพ็ชร. (2564). พหุวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์: อิทธิพลที่มีต่อเรือนพื้นถิ่นในภาคเหนือของไทย. วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม, 5(2), 96-115.

ลิปิกร มาแก้ว. (2558). ประเพณีและวัฒนธรรมล้านนา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2537). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯเล่มที่ 18 เรื่องที่ 1 สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ภาคเหนือ. สืบค้น 9 มิถุนายน 2565, จาก https://shorturl.asia/gHIsT

สถาบันวัฒนธรรมศึกษา. (2561). มรดกภูมิปัญญาอีสาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Shopback. (2565). เที่ยวภาคใต้ 101: คู่มือคนหัดเที่ยวภาคใต้ + ที่เที่ยวภาคใต้ที่เป็น a must!. สืบค้น 9 มิถุนายน 2565, จาก https://shorturl.asia/OWP0H

Tan Cheong, S. R. (2007). A Comparative Analysis of MICE Destinations between Macau and Singapore. Las Vegas: University of Nevada.

Xin, J., et al. (2008). China’s second-tier cities as exhibition destinations. International Journal of Conternporary Hospitality Management, 22(4), 552-568.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-25