โนราบ้านชะแล้กับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบนฐานทุนทางวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • เสริมศักดิ์ ขุนพล มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • พรพันธุ์ เขมคุณาศัย มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • พรไทย ศิริสาธิตกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ทุนวัฒนธรรม, การจัดการวัฒนธรรม, ความเข้มแข็งของชุมชม, โนรา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนและการจัดการทุนทางวัฒนธรรมในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษาโนราบ้านชะแล้ ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ชุมชนบ้านชะแล้ ด้วยการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มชาวบ้าน นำวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างสรุปเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า ทุนทางวัฒนธรรมโนราบ้านชะแล้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ การแสดงโนรา โนราบิก ความเชื่อเกี่ยวกับโนรา และงานฝีมือโนรา ซึ่งแต่ละประเภทจะมีศักยภาพในการนำไปสร้างความเข้มแข็งของชุมชนที่แตกต่างกัน สามารถนำทุนวัฒนธรรมเหล่านี้ไปพัฒนาชุมชน 5 ด้าน คือ การพัฒนาบุคคล การพัฒนาวัฒนธรรม การพัฒนาสุขอนามัย การพัฒนาศีลธรรม และการพัฒนาอาชีพ การนำทุนวัฒนธรรมโนรามาใช้ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ไม่ต้องจำเป็นต้องชี้วัดทางมิติทางด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่ต้องวัดความเข้มแข็งในมิติทางด้านสังคมและองค์กรชุมชน มิติทางด้านวัฒนธรรมและการเรียนรู้ และมิติทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งนับเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ สามารถมีอำนาจจัดการตนเองอย่างอิสระ และสามารถรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาตนเอง จากทุนวัฒนธรรมโนราที่มีอยู่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนเข้มแข็งต่อไป

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2562). รายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระดับจังหวัด. สืบค้น 10 กันยายน 2562, จาก http://ich.culture.go.th/index.php

ขวัญเรือน บุญกอบแก้ว. (2562). แนวทางการปรับใช้ทุนทางวัฒนธรรมในการพัฒนาชุมชนบ้านวังหอนตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(ฉบับพิเศษ), 188-209.

จีรวรรณ ศรีหนูสุด. (2552). ศิลปะการแสดงโนรา : ทุนทางสังคมในการฟื้นฟูพลังชุมชนบ้านเกาะประดู่ หมู่ที่ 2 ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาชุมชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เทศบาลตำบลชะแล้. (2560 ). แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561 – 2564). สงขลา: เทศบาลตำบลชะแล้.

บัณฑร อ่อนดำ และวิริยา น้อยวงศ์ นยางศ์. (2533). ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชนบท : ประสบการณ์ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้ว.

ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร และคณะ. (2551). การมีส่วนร่วมของเครือข่ายวัฒนธรรมและชุมชนในการบริหารจัดการวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์และคณะ. (2549). กระบวนการเรียนรู้และจัดการความรู้ของชุมชนด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หาดใหญ่โฟกัส. (2562). สิงหนคร สุดยอด โนราบิก การออกกำลังกายศิลปะพื้นบ้าน ประยุกต์ด้วยท่ารำมโนราห์. สืบค้น 10 ตุลาคม 2564, จาก www.hatyaifocus.com

อัญธิชา มั่นคง. (2560). บทบาทของทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษาชุมชนในตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา, วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 12(39), 90-100.

Richards, G. (2009). Creative tourism and local development. Santa Fe: SunstonePress.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15