พุทธบูรณาการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กร ด้านเวชภัณฑ์ในความปกติใหม่

ผู้แต่ง

  • วัสยามน จินดานิล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธิติวุฒิ หมั่นมี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • รัฐพล เย็นใจมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักอิทธิบาทธรรม, ประสิทธิภาพ, การบริหารงาน, เวชภัณฑ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กร 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาทธรรมกับประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กร 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพุทธบูรณาการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรด้านเวชภัณฑ์ในความปกติใหม่ วิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การแจกแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่บุคคลากรขององค์กรเวชภัณฑ์จำนวน 231 คนและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรด้านเวชภัณฑ์ในความปกติใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2. ความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิบาทธรรมกับประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กร พบว่า ด้านการให้ความสำคัญของลูกค้า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง ด้านความเป็นผู้นำด้านการบริหารเชิงกระบวนการ ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ด้านการตัดสินใจบนพื้นฐานของความจริง มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อย ด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากร ด้านการบริหารที่เป็นระบบ และด้านความสัมพันธ์กับผู้ขาย มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับน้อยมาก 3. แนวทางพุทธบูรณาการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรด้านเวชภัณฑ์ในความปกติใหม่ พบว่าด้านฉันทะ ผู้มีส่วนร่วมต้องพอใจต่อการปฏิบัติงาน ด้านวิริยะ สร้างค่านิยมองค์กรมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำงาน ด้านจิตตะ สมาชิกทุกคนต้องเอาใจใส่ต่อการบริหารงานขององค์กรด้านเวชภัณฑ์ และด้านวิมังสา ส่งเสริมให้บุคลากรมีความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนเองด้านเวชภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ นำสู่การพัฒนา ประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรด้านเวชภัณฑ์ในความปกติใหม่

References

เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว และชลัท ประเทืองรัตนา. (2565). ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อดัชนีชี้วัดระดับสันติภาพของสังคมไทย. วารสาร สังคมวิจัยและพัฒนา, 4(3), 72-94.

จิรศักดิ์ ธารสุขกระจ่าง. (2555). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). ธรรมะกับการทำงาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.

พิสมัย หมกทอง. (2555). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพบูลย์ ตั้งใจ. (2554). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน ตามหลักอิทธิบาท 4: กรณีศึกษา บริษัท แอมพาสอินดัสตรี จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดน่าน. (2562). อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด. สืบค้น 20 มิถุนายน 2566, จาก https://shorturl.asia/7lOpS

อดิศร เพ็งสุริยา. (2557). ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของเลขานุการเจ้าคณะตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Morellia, G. & Braganza, A. (2012). Goal setting barriers: A pharmaceutical sales force case study. The International Journal of Human Resource Management, 23(2), 312-332.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-25