บทบาทของสื่อมวลชนที่มีต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย
คำสำคัญ:
บทบาทของสื่อมวลชน, การส่งเสริม, การมีส่วนร่วมทางการเมืองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 2. ศึกษาบทบาทของสื่อมวลชนที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และ 3. ศึกษาการประยุกต์หลักธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน จากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยประชาชนติดตามข่าวสารทางการเมือง ออกไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เพื่อส่งเสริมการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย มีส่วนร่วมในการปกครองเป็นหน้าที่ของประชาชน 2. บทบาทของสื่อมวลชนที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3. การประยุกต์หลักธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ดังนี้ ด้านการรู้จักผล สื่อมวลชนควรคำนึงประโยชน์ถึงประชาชน ด้านการรู้จักชุมชน ให้ประชาชนพึ่งพาได้ ด้านการรู้จักบุคคล นำเสนอบุคคลที่ดีควรยกย่องสนับสนุน การรู้จักตน เป็นคนกลางให้ประชาชนส่งสารไปถึงนักการเมือง
ด้านการรู้จักกาล มีเป้าหมายในการรณรงค์ให้ยุติความขัดแย้งทางการเมือง ส่งเสริมให้เกิดความรักสามัคคีในสังคม การรู้จักเหตุ มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา และด้านการรู้ประมาณ สร้างการมีส่วนร่วมในสังคมส่งเสริมให้ประชาชนสามารถตัดสินใจเลือกตัวแทนได้
References
กิตติ ศรีสมบัติ. (2559). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารงานของเทศบาล ตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จินตนา จงฤกษ์งาม. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแจ้งซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาณรงค์ ธมฺมเมธี. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการเลือกตั้งทั่วไปของชุมชนท่าเตียน กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เลอภพ โสรัตน์ และสมาน งามสนิท. (2554). บทบาทสื่อมวลชนกบการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 5(3), 117-129.
ณัฐนันท์ ศิริเจริญ. (2559). ผลกระทบจากการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากผู้ดำเนินรายการเล่าข่าวการเมือง ผ่านทางสื่อทีวีดาวเทียมและสื่อวิทยุชุมชน กรณีศึกษา : สถานีสุวรรณภูมิและคลื่นประชาธิปไตย 92.25 MHz. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
ปรมต วรรณบวร. (2561). ความเป็นพลเมืองเพื่อการส่งเสริมประชาธิปไตยในท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิงห์ สิงห์ขจร. (2564). สื่อมวลชนในรัฐธรรมนูญ 2560. สืบค้น 10 ธันวาคม 2564, จาก https://prachatai.com/journal/2017/04/71173
สุกัญญาณัฐ อบสิณ. (2564). การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุทน ทองเล็ก. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจังหวัดสระแก้วในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Yamane, T. (1967). Elementary sampling theory: Prentice-Hall. Englewood Cliffs, N.J.