รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธขององค์การบริหาร ส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • วรรณทนี สุวรรณจิรไพศาล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธวัชชัย สมอเนื้อ มหาวิทยาลัยมหามหาจุฬสลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประสิทธิ์ พุทธศาสน์ศรัทธา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธ, เพชรบูรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนา 4 กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3. เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 85 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสักจัง หวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนา 4 กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง 3. รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธขององค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ตามหลักภาวนา 4 มีดังนี้ 1) กายภาวนา การมีปฏิสัมพันธ์การอยู่ร่วมกันในองค์กร 2) สีลภาวนา การพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคมในลักษณะที่เกื้อกูล 3) จิตภาวนา มีความแน่วแน่มั่นคงในการปฏิบัติงาน ยึดกฎหมายระเบียบ ยึดหลักศีลธรรมอันดี และ 4) ปัญญาภาวนาเข้าใจความเป็นจริง สามารถทำจิตใจให้บริสุทธิ์ เข้าใจในศิลปะวิทยาการ

References

ดารณีพิมพ์ ช่างทอง. (2558). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการเรียนรู้ เพื่อการแข่งขันทางธุรกิจประจำท้องถิ่นสู่สังคมแห่งการเรียนรู้. วารสารสุทธิปริทัศน์, 29(90), 14-30.

พระครูสุทธิวรญาณ (ภักดี เขมธโร). (2565). ภาวนา 4 : หลักธรรมะเพื่อการพัฒนาองค์กร ให้คนเก่งคิดและเก่งทำ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6), 67-75.

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ). (2537). เป้าหมายของการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิพพาน.

พระปลัดธัญวัฒน์ อโสโก. (2563). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของชุมชนบ้านบ่อเกตุ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(2), 35-46.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเอกราช กิตฺติธโร. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลปากช่อง. (2565). ข้อมูลบุคลากร. สืบค้น 11 ตุลาคม 2565, จาก https://www.pakchongls.go.th/home

อนุกูล บุญรักษา. (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักภาวนา 4 ของกองบัญชาการมณฑลทหารบกที่ 31 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Blogger. (2023). Problems in human resource management and solutions. Retrieved October 25, 2023, from https://shorturl.asia/J5g8a

Slide player. (2565). Problems, obstacles, and trends in human resource development strategic. Retrieved October 25, 2023, from https://shorturl.asia/J5g8a

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01