การบูรณาการหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมจริยธรรม ของผู้บริหารพรรคการเมืองในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การบูรณาการ, คำสอนทางพระพุทธศาสนา, การส่งเสริมจริยธรรม, ผู้บริหารพรรคการเมืองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับจริยธรรม 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อจริยธรรม 3. นำเสนอการบูรณาการหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมจริยธรรมของผู้บริหารพรรคการเมืองในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกพรรคการเมือง 400 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ด้วยสูตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารการเมือง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเลือกตั้ง จริยธรรม พระพุทธศาสนาและรัฐประศาสนศาสตร์ รวม 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ฆราวาสธรรม 4 และกระบวนการส่งเสริมจริยธรรมอยู่ในระดับมาก และส่งผลต่อจริยธรรมของผู้บริหารพรรคการเมืองในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ฆราวาสธรรม 4 ทำนายความผันแปรได้ร้อยละ 76.2 กระบวนการส่งเสริมจริยธรรม ทำนายได้ได้ร้อยละ 82.5 การบูรณาการหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา คือ 1. ผู้บริหารปกป้องและเชิดชูและธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันหลักของประเทศ 2. ผู้บริหารมีความซื่อสัตย์สุจริต 3. ผู้บริหารกล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม 4. ผู้บริหารยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก 5. ผู้บริหารมีความุ่งในที่จะทำงานให้สำเร็จโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตน 6. ผู้บริหารมีความเป็นกลางปราศจากอคติ
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2523). แนวทางพัฒนาจริยธรรมไทย. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
กอปรลาภ อภัยภักดิ์. (2564). การพัฒนาประสิทธิผลการส่งเสริมจริยธรรมของสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เชาวนะ ไตรมาศ. (2540). พรรคการเมือง: ภูมิหลังทางโครงสร้าง. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายการศึกษา.
ไชยอนันต์ ตรีไพบูลย์. (2561). การพัฒนาจริยธรรมของสมาชิกรัฐสภาไทยตามวิถีพุทธ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นฐินันต์ ศรีลาศักดิ์. (2557). การบริหารจัดการพรรคการเมืองไทยเพื่อประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 4(3), 260-270.
บุญชิรา ภู่ชนะจิต. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง. (2564, 26 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 258 ง หน้า 11-14.
ปิ่นทิพย์ มโนสุจริตธรรม และคณะ. (2563). วิกฤตครอบครัวในสังคมไทย: ศึกษาและเสริมสร้างครอบครัวสันติสุขตามหลักฆราวาสธรรม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8, 48-60.
พระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี. (2559). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะองค์การบริหารส่วนตำบลในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภูษิต วิเศษคามินทร์. (2563). ประสิทธิผลการนำนโยบายการแก้ปัญหาจราจรไปปฏิบัติของกองบังคับการตำรวจจราจร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
รัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). (2560, 6 เมษายน). ราชกิจกานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 1.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2565). ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.ect.go.th/ect_th/ down load/article/article_20220215140159.pdf
โอฬาร์ ปัญญปิติพัฒน. (2559). การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองไทย (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.