ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามหลักพุทธธรรม ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • นาตยา อินทร์กรุงเก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธวัชชัย สมอเนื้อ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประสิทธิ์ พุทธศาสน์ศรัทธา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสุพัฒน์ นนฺทปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, หลักพุทธธรรม, บุคลากรมหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการปฏิบัติงานและหลักอิทธิบาท 4 กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3. นำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตามหลักพุทธธรรมของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นแบบผสานวิธี คือการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยแจกแบบสอบถาม จากตัวอย่างจำนวน 188 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยการปฏิบัติงาน ปัจจัยจูงใจหรือปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการปฏิบัติงานและหลักอิทธิบาท 4 กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (R = .689**)  3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน พบว่า ด้านคุณภาพของงาน เป็นตัวบ่งชี้ว่าบุคลากรมีความตั้งใจจริงในการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน อุปกรณ์ในการทำงาน รวมถึงตัวบุคคล เป็นปัจจัยสนับสนุนหลักในการทำงานเพื่อให้ได้คุณภาพของงาน

References

ณัฐวัตร เป็งวันปลูก. (2560). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการทหารสังกัดกองพัน ทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7 (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุระกิจ). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เนตร์พัฌณา ยาวิราช. (2560). การจัดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

ปฐมวงค์ สีหาเสนา. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขา

รัฐประศาสนศาสตร). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิศิต ธีรว์โส. (2559). การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการปกครองของพระสังฆาธิการระดับอำเภอ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 11 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุรศักดิ์ รุจิธมฺโม และคณะ. (2564). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(1), 91-102.

พฤธิสิทธิ์ อุทุม. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วน จังหวัดสระแก้ว (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2565). เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย. สืบค้น 6 ตุลาคม 2565, จาก https://www.mcu.ac.th/

วีรยุทธ วาณิชกมลนันทน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทสยามกลาสอินดัสทรี จำกัด โรงงานอยุธยา (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงกลยุทธ์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภาภรณ์ ชัยวงษา. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัสดุสำนักงานอัยการสูงสุด กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานพนธ์

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01