รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ ในอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การเผยแผ่, พระสังฆาธิการ, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, เทศนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ 2. ศึกษากระบวนการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ 3. นำเสนอรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย มีการนำเสนอผลการวิจัย เป็นการเสนอรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการเผยแผ่ มีจุดแข็ง คือ การบริหารงานเป็นระบบ มีความรู้ทั้งโลกและธรรม หน่วยงานราชการและประชาชนเป็นพุทธมามกะ จุดอ่อน คือ สังฆาธิการมีภาระงานมาก ขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญและใช้เทคโนโลยี โอกาส คือ คณะสงฆ์ใช้เทคโนโลยีสื่อสาร ประชาชนตระหนักถึงศีลธรรม พร้อมเสริมสร้างสามัคคี อุปสรรค คือ กระแสสังคมแปรเปลี่ยน ปัญหาการระบาดของยาเสพติด 2. กระบวนการพัฒนาการเผยแผ่ พบว่า มีการอบรม จัดทำแผนการสอน และใช้สื่อเทคโนโลยีในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การลงมือปฏิบัติตามแผนเรียนเทศนาธรรม การนำเทคโนโลยีสื่อสารเข้ามาในการเผยแผ่ มีการตรวจสอบพฤติกรรม และการทดสอบความรู้ พัฒนาสื่อเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และกระจายข้อมูลให้กว้างขึ้น 3. รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พบว่า มี 5 รูปแบบ คือ 1) การเทศน์ตามหลักองค์ธรรมกถึก สอดแทรกเหตุการณ์บ้านเมือง และสำเนียงท้องถิ่น 2) การสอน ให้คิดวิเคราะห์ และการทำเป็นแบบอย่าง 3) การบรรยายอิสระ แต่อยู่ในขอบเขต รวบรัด ชัดเจน 4) การนำปฏิบัติ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน 5) การใช้สื่อโซเชียล การใช้คอมพิวเตอร์ สิ่งพิมพ์ และจัดรายการวิทยุ
References
พระครูธรรมคุต (สุทธิพจน์ สุทฺธิวจโน) และคณะ. (2566). NEXT NORMAL: แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงวิถีทางสังคมของไทย. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 6(1), 137-158.
พระครูวิมลพัฒนกิจโกศล (ธนพล เขมปญฺโญ). (2560). ผลสัมฤทธิ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูของพระธรรมจาริก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 15-28.
พระครูสมุห์ดิฐภูมิ จิรธมฺโม. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชนประจำตำบลของคณะสงฆ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสังฆรักษ์พิทยา ญาณธโร. (2561). ศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยยุคดิจิทัล. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุทธิกิจโกศล (สมภพ สุวโจ). (2558). รูปแบบการเผยแผ่ของพระสังฆาธิการในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุนทรสารวาที (ทองดี ญาณสาโร). (2565). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระสังฆาธิการอําเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(1), 113-125.
พระจรูญ จนฺทูปโม. (2562). รูปแบบการพัฒนาการเทศนาของพระสงฆ์จังหวัดสมุทรปราการ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). จาริกบุญ-จารึกธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก จํากัด.
พระปลัดธีรภัทร์ นาถสีโล. (2564). การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาด้านการศึกษาโดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(7), 64-77.
ไพโรจน์ ดวงศรี. (2558). รูปแบบโครงสร้างองค์การ และบทบาทการบริหารงานของพระสังฆาธิการที่มีผลต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.