การพัฒนาสมรรถนะด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระอธิการสุรภาส ปภาโต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระราชวัชรสารบัณฑิต (ประสาร จนฺทสาโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสุธีกิตติบัณฑิต (กฤษฎา กิตฺติโสภโณ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, สมรรถนะ, การเผยแผ่, พระสังฆาธิการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. วิเคราะห์สภาพทั่วไปในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ 2. ศึกษากระบวนการส่งเสริมสมรรถนะด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ 3. นำเสนอรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนาเฉพาะกลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ มีการนำเสนอผลการวิจัย เป็นรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการ

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการเผยแผ่ มีจุดแข็ง คือ พระสังฆาธิการที่เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีแนวคิดที่ทันสมัย และมีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม จุดอ่อน คือ ยังคงใช้เทคนิค รูปแบบที่เดิม ๆ ทำให้มีความเบื่อหน่ายและขาดความน่าสนใจ โอกาส คือ โรงเรียนและหน่วยงานราชการภายในพื้นที่ให้ความสำคัญกับการเผยแผ่พุทธศาสนา อุปสรรค คือ ประชาชนต้องทำงานและดูแลครอบครัว จึงไม่สนใจในเรื่องธรรมมะ 2. กระบวนการส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีการวางแผนงบประมาณ กำหนดเป้าหมายอย่างต่อเนื่องวางแผนเพิ่มจำนวนและพัฒนาพระสังฆาธิการและสร้างเครือข่ายการเผยแผ่ 3. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ ด้านความรู้ ส่งเสริมให้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างถ่องแท้เสริมด้วยศึกษาศาสตร์ทางโลกและเทคโนโลยี ด้านทักษะ สร้างแรงจูงใจที่จะทำให้พระสังฆาธิการมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล พัฒนาปรับบุคลิกภาพพระสังฆาธิการให้เหมาะสมกับสมณะสารูปและประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

References

ประทวน วันนิจ และมนูญ สอนโพนงาม. (2565). วิกฤตวัฒนธรรม เปลี่ยนผ่านวิถีชีวิตสังคมไทยในยุคดิจิทัล. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 9(2), 117-126.

พระครูกิตติเขมาภิรม (ประจวบ เขมาภิรโต). (2562). รูปแบบการจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต้นแบบของคณะสงฆ์จังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ (ประยูร นนฺทิโย). (2563). สภาพทั่วไปการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 3(2), 50-59.

พระครูวิโรจน์อินทคุณ (เอกชัย อินฺทโชโต). (2562). การพัฒนาสมรรถนะเจ้าอาวาสตามหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการงานกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดจันทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระชลญาณมุนี (สมโภช ธมฺมโภชฺโช). (2565). การปรับตัวของพระสงฆ์รุ่นใหม่ในยุคของสังคมออนไลน์. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 11(1), 195-213.

พระศิระ จิตฺตสุโภ. (2564). พลังบวรสู่ความเข้มแข็งของชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์, 2(3), 187-198.

มนตรี สหชัยรุ่งเรือง. (2565). การพัฒนาสมรรถนะทางการบริหารเชิงพุทธของผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลของจังหวัดชลบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วารี โศกเตี้ย และคณะ, (2565). วัด : แหล่งการเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 3(2), 68-77.

สมเจตน์ ผิวทองงาม. (2558). พุทธทาสภิกขุกับการแนะแนวทางการดำเนินชีวิต (Buddhadhasa Bhikkhu and Guidance of the ways to make living). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 6(2), 175-208.

อำพล บุดดาสาร และคณะ. (2564). พระพุทธศาสนา : รากฐานการศึกษาไทยที่ควรหันมามอง. วารสารปณิธาน, 17(1), 81-100.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01