การใช้เพลงประกอบการสอนรายวิชาภาษาไทย เรื่อง การใช้คำราชาศัพท์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • เทพลักขนา ข่อยนอก มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • เศรษฐิยา เปรื่องพิชญาธร มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • พวงเพ็ญ อินทรประวัติ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

เพลงประกอบการสอน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการใช้คำราชาศัพท์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังใช้เพลงประกอบการสอน 2. ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เพลงประกอบการสอนในรายวิชาภาษาไทย เรื่องการใช้คำราชาศัพท์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านประโดก-โคกไผ่ (สถิตย์วิริยคุณ)
ปีการศึกษา 2566 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลงประกอบการสอนรายวิชาภาษาไทย 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจต่อการใช้เพลงประกอบการสอน จำนวน 11 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการใช้คำราชาศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านประโดก-โคกไผ่ (สถิตย์วิริยคุณ) พบว่า ก่อนใช้เพลงประกอบการสอนเท่ากับ 14.39 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 49.97 คะแนน หลังใช้เพลงประกอบการสอนเท่ากับ 22.26 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.20 โดยมีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ยเท่ากับ 7.87 โดยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อการใช้เพลงประกอบการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551.กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

______. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

เกื้อกูล เสพย์ธรรม. (2551). ราชาศัพท์. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

จันจิรา หาวิชา. (2561). เพลงเพื่อการเรียนการสอนภาษาไทย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราช ภัฏพระนครศรีอยุธยา.

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2556). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ณัฐฐิดา สุขสำราญ. (2561). ผลการสอนโดยใช้เพลงประกอบที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

บุญธิดา อัมพรพนา และคณะ. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เพลงในการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านบ่อสามแสน (รายงานการวิจัย). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ศศิธร สงภักดิ์. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ที่เรียนโดยเทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอนกับการสอนแบบปกติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศุทธินี หางแก้ว และนาตยา ปิลันธนานนท์. (2563). การพัฒนาเพลงประกอบการเรียนการสอน สังคมศึกษาและภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สิริพัชร์ เจษฏาวิโรจน์. (2550). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

สุจริต เพียรชอบ. (2530). การสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมิตรา สดทรงศิลป์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลงตามแนวการสอนภาษาที่สองเพื่อส่งเสิรมทักษะการฟัง - พูดภาษาจีน และความรู้ด้านคำศัพท์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-25