บทบาทพระสงฆ์กับการส่งเสริมศรัทธาในพระพุทธศาสนาแก่เยาวชน ในอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • พระฤทธิเดช อนาลโย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ธิลาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บทบาทพระสงฆ์, การส่งเสริมศรัทธา, เยาวชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของบทบาท 2. เพื่อเปรียบเทียบบทบาท 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อบทบาทพระสงฆ์กับการส่งเสริมศรัทธาในพระพุทธศาสนาแก่เยาวชนในอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณแจกแบบสอบถามกับเยาวชน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมตอนปลายโรงเรียนบ้านค่าย จังหวัดระยอง จำนวน 746 คน วิเคราะห์ข้อมูลค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน และสถิติพรรณนา
ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของบทบาทพระสงฆ์ พบว่า เยาวชนมีความคิดเห็นต่อ บทบาทพระสงฆ์กับการส่งเสริมศรัทธาในพระพุทธศาสนาแก่เยาวชนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (=4.16, S.D.=0.38) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. การเปรียบเทียบบทบาทพระสงฆ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เยาวชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อ บทบาทพระสงฆ์กับการส่งเสริมศรัทธาในพระพุทธศาสนาแก่เยาวชนในอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ 3. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อบทบาทพระสงฆ์กับการส่งเสริมศรัทธาในพระพุทธศาสนาแก่เยาวชนในอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง พบว่า ปัญหา อุปสรรค พระสงฆ์มีการสอนที่แตกต่างกันไป เยาวชนขาดความรับผิดชอบต่อให้หน้าที่ มีการชื่นชอบเพศตรงข้ามที่มีเจ้าของแล้ว มีการพูดแก้ตัวปกป้องตัวเอง ส่วนข้อเสนอแนะ พระสงฆ์ควรจัดให้การสอนที่เป็นไปในแน่ทางเดียวกันให้ตระหนักถึงหน้าที่ และควรแนะนำการทำงานอย่างมีสติ

References

ธงชัย สมบูรณ์. (2560). โลกหลังยุคใหม่ อนาคตทางการศึกษาและปัญญาของชาติ. สืบค้น 25 มิถุนายน 2566, จาก https://shorturl.asia/AoOcX

ธรรมภณ อยู่สิริ. (2564). การคุ้นรองสิทธิเด็กและเยาวชนในคดีอาญา: ศึกษากรอบระยะเวลาที่เหมาะสมการในการฟ้องคดีอาญาเด็กและเยาวชน (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ประทวน วันนิจ และมนูญ สอนโพนงาม. (2565). วิกฤตวัฒนธรรม เปลี่ยนผ่านวิถีชีวิตสังคมไทยในยุคดิจิทัล. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 9(2), 117-126.

ปรางทิพย์ วงศ์วรชาติ. (2555). การใช้หลักเบญจศีลในการดำเนินชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิสุทธิสรคุณ (วิชิต วิชิโต). (2555). บทบาทพระสงฆ์ที่มีต่อการสอนคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสิทธิวชิรโสภิต (ประสิทธิ์ สมฺมาปญฺโญ) และนิกร ศรีราช. (2564). การยับยั้งชั่งใจโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กรณีศึกษา: การใช้ความรุนแรงต่อเด็ก คดีน้องชมพู่เด็กหญิงบ้านกกกอก. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(1), 189-197.

พระจันที จิตฺตสํวโร. (2555). บทบาทของพระสอนศีลธรรมในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในระดับมัธยมศึกษา อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีวัชรประชาทร (ประยูร นนฺทิโย) และพระครูสังฆรักษ์เอกลักษณ์ อชิโต. (2566). การพัฒนาเครือข่ายสามเณรในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างเครือข่ายลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ, 1(4), 52-66.

พระอุดมสิทธินายก (กำพล มาลัย). (2566). การเสริมสร้างสุขภาวะและเครือข่ายทางสังคมเพื่อลดเหล้าบุหรี่เชิงพุทธบูรณาการในจังหวัดนนทบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษาวิชาการ, 1(4), 1-15.

มนัส สุวรรณ และคณะ. (2565). ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นในเขตจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน. พิฆเนศวร์สาร, 18(2), 147-160.

สมชัย กลิ่นจันทร์. (2559). การเผยแผ่พระพุทธศาสนา: การพัฒนารูปแบบและวิธีการเชิงรุกของคณะสงฆ์ไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(1), 205-216.

อำไพ หมื่นสิทธิ์. (2553). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01