การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่น เทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • ธนกฤต ชัยเทวะกุล นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

การประยุกต์, หลักพุทธธรรม, บทบาท, นักการเมืองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่น 2. ศึกษาการส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่น และ 3. ศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวนด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 392 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย 1. สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน จำนวน 9 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

 ผลการวิจัยพบว่า 1. การส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ระหว่างหลักสังคหวัตถุ 4 กับการส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่น มีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับสูง (r=0.811**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3. หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมบทบาทนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ได้แก่ 1. นักการเมืองท้องถิ่นให้ความสนใจและใส่ใจให้มีระบบสาธารณสุขแก่ประชาชน 2. นักการเมืองท้องถิ่นจัดให้มีระบบ สาธารณูปโภคโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ 3. นักการเมืองท้องถิ่นเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของชุมชน สังคม และร่วมการรักษาความสงบเรียบร้อยตามหมู่บ้านต่าง ๆ และ 4. นักการเมืองท้องถิ่นมีภาพลักษณ์ในการส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกายและรักษาสุขภาพ และสนับสนุนการออกกำลังกายให้ประชาชนได้เป็นแบบอย่างร่วมกิจกรรมตามจารีตประเพณีกับประชาชนในท้องถิ่น

References

เกศสุดา โภคานิตย์ และกีฬา หนูยศ. (2560). บทบาทผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 2(ฉบับพิเศษ), 66-76.

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

เทศบาลตำบลทับมา. (2565). การเลือกตั้งเขตเทศบาลตำบลทับมา จังหวัดระยอง. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2565, จาก https://thapma.go.th/

ไทยโพสต์. (2564). เทศบาลกับการปกครองท้องถิ่นไทย. สืบค้น 26 ตุลาคม 2565, จาก https://www.thaipost.net/main/detail/94108

พระชินกร สุจิตฺโต. (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารทางการเมืองสำหรับประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธนพร คุณสมฺปนฺโน และคณะ. (2561). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการดำเนินชีวิตของประชาชนบ้านศิลา ตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย.

พระศกลวัธน์ จิตฺตปญฺโญ. (2563). บทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการพัฒนาเทศบาลตำบลนาหนาด อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนัสนันท์ ศิวะพรพัฒนา และคณะ. (2564). การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั่วไปของประชาชนในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(1), 74-86.

เวียงรัฐ เนติโพธิ์. (2551). การกระจายอำนาจกับแบบแผนใหม่ของเครือข่ายอิทธิพล, ใน ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, ก้าว (ไม่) พ้นประชานิยม : กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น. (น. 2) กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โปรดักส์.

เศรษฐพร หนุนชู และคณะ. (2560). การเมืองการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย. วารสาร มจรอุบลปริทรรศน์, 2(2), 109-122.

อภิชาต สถิตนิรามัย. (2555). รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

อุดม ทุมโฆษิต. (2550). การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่ : บทเรียนจากประเทศพัฒนาแล้ว.กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2552). แปรถิ่น เปลี่ยนฐาน: สร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). Tokyo: Harper International Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01