การบริหารจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาของโรงเรียนในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • พระปลัดกฤษณา ขนฺติธมฺโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุภัทรชัย สีสะใบ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, การเรียนการสอน, ธรรมศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นของครู 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของครู และ 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่มีต่อการบริหารจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาของโรงเรียนในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 180 คน
ซึ่งเป็นครูในอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน และในเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ครูที่มีเพศ และอายุต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนครูที่มีการศึกษา และตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวม แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. ปัญหา อุปสรรค คือ ขาดการประชุมร่วมเพื่อวางแผนการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษา บุคลากรไม่เพียงพอ ที่มีอยู่ก็ขาดความรู้ กระบวนการตรวจสอบไม่ชัดเจน ไม่นำข้อมูลการตรวจสอบไปปรับปรุงแก้ไข และข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการศึกษาข้อมูลและประชุมวางแผนร่วมกัน อบรมครูผู้สอนให้มีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ ควรตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และนำผลการตรวจสอบไปปรับปรุงพัฒนา

References

กลุ่มสารสนเทศ สนผ. (2566). ข้อมูลนักเรียน ปีการศึกษา 2566. สืบค้น 21 กรกฎาคม 2566, จาก https://data.bopp-obec.info/emis

กิจสดายุทต สังขทอง. (2562). การเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม ก่อนและหลังการเรียนการสอนธรรมศึกษา. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 5(3), 55-65.

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย : Basic Statistics and Research. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสมุห์ดิฐภูมิ จิรธมฺโม (2561). สภาพการจดัการศึกษาธรรมศึกษา ในอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิทยา วชิรญาโณ (2561). การบริหารจัดการของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

การจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสง่า จนฺทวณฺโณ (2561). การบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน ของคณะสงฆ์อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562. สืบค้น 21 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/eCXF9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01