การสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธของผู้บริหารเทศบาลนครเพื่อส่งเสริม การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในภาคเหนือตอนล่าง
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ผู้บริหารเทศบาลนคร, การสื่อสารทางการเมืองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในภาคเหนือตอนล่าง 2. ศึกษาปัจจัยการสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเทศบาลนครภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 400 คน ใช้เครื่องมือจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ จำนวน 24 รูปหรือคน โดยใช้เครื่องมือจากแบบแบบสัมภาษณ์ อภิปรายผลโดยวิธีพรรณนา
ผลวิจัยพบว่า 1. สภาพการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในภาคเหนือตอนล่าง แยกตามปัจจัยส่วนบุคคลประชาชนเพศหญิง ร้อยละ 40 อายุเฉลี่ย 41-50 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 15,000 บาทขึ้นไป และส่วนใหญ่ มีอาชีพรับราชการ เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากที่สุด 2. ปัจจัยการสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน พบว่าการสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธของผู้บริหารเทศบาลนครทำให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองมากทุกด้าน
References
เทศบาลนครนครสวรรค์. (2563). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของเทศบาลนครนครสวรรค์. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://shorturl.asia/1Jgti
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วีอินเตอร์ พรินท์.
ปณัชญา ลีลายุทธ และรังษี สุทนต์. (2562). นวัตกรรมการสื่อสารธรรมะผ่านแอปพลิเคชั่นพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). สยามสามไตร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.
ไพศาล เครือแสง. (2557). รูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมทางการบริหารตามหลักธรรมมาภิบาลของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง (ดุษฎีนิพนธ์
รัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เลอภพ โสรัตน์. (2554). บทบาทสื่อมวลชนกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองไทย (ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
วิกิพีเดีย สาราณุกรมเสรี. (2562). การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://th.wikipedia.org
ศิวาพร ศรีศักดินันท์. (2557). รูปแบบการเสริมสร้างจริยธรรมการสื่อสารเชิงพุทธทางสื่อออนไลน์ของสื่อมวลชนไทย (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุรพล สุยะพรหม และนันทนา นันทวโรภาส. (2562). การสื่อสารทางการเมืองของพระเทพปฏิภาณวาที (เจ้าคุณพิพิธ) : ศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ. 2540-2560 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารทางการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
อธิคม เรียมศรีสกุล. (2557). รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.