รูปแบบการสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธของผู้บริหารเทศบาลนครเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การสื่อสารทางการเมือง, หลักสาราณียธรรม 6บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนภาคเหนือตอนล่าง 2. ศึกษาปัจจัยการสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และ 3. ศึกษาการประยุกต์หลักสาราณียธรรม 6ใช้เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี วิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเทศบาลนครภาคเหนือตอนล่าง 400 คน จากแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลสถิติทางสังคมศาสตร์ วิจัยเชิงคุณภาพ จากผู้เชี่ยวชาญ 24 รูปหรือคน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลยวิธีพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนด้านการวางแผน การปฏิบัติ รับประโยชน์ และประเมินผล เพศหญิง อายุ 41-50 ปี การศึกษามัธยมศึกษา อาชีพรับราชการ และมีรายได้เดือนละ 15,000 บาทขึ้นไป มีส่วนร่วมทางการเมืองมากที่สุด 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง พบว่า การสื่อสารทางการเมืองเชิงพุทธของผู้บริหารเทศบาลนครทำให้การมีส่วนร่วมทางการเมืองมากทุกด้าน
3. การประยุกต์หลักสาราณียธรรม 6 มาใช้เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน พบว่า ผู้บริหารเทศบาลนคร ส่งสาร คิดดี พูดดี ทำดี เนื้อหาถูกต้อง เลือกสื่อเหมาะสม ผู้รับสารปฏิบัติได้
References
ทัศนีย์ เจนวิถีสุข. (2554). การสื่อสารเชิงพุทธกับการเปลี่ยนแปลงสังคม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เทศบาลนครนครสวรรค์. (2563). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของเทศบาลนครนครสวรรค์. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://shorturl.asia/1Jgti
เทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. (2563). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของเทศบาลนครพิษณุโลก. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.phsmun.go.th
เทศบาลนครแม่สอด. (2563). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของเทศบาลนครแม่สอด. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.nakhonmaesotcity.go.th
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิเคราะห์และวิจัยข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และเหมือนขวัญ เรณุมาศ. (2560). สันติวิธี: การจัดการความขัดแย้งตามแนวทางสันติวิธี. วารสารสันติวิธีปริทัศน์ มจร. 5(2), 1-16.
ปณัชญา ลีลายุทธ และรังษี สุทนต์. (2562). นวัตกรรมการสื่อสารธรรมะผ่านแอปพลิเคชั่นพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). สยามสามไตร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพ์สวย.
พีระพงษ์ กลิ่นลออ. (2558). รูปแบบนวัตกรรมการสื่อสารแนวพุทธเพื่อการพัฒนาเกษตรกรสู่เศรษฐกิจพอเพียง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขา
ธรรมนิเทศ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพ: โรงพิมพ์สหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศิวาพร ศรีศักดินันท์. (2557). รูปแบบการเสริมสร้างจริยธรรมการสื่อสารเชิงพุทธทางสื่อออนไลน์ของสื่อมวลชนไทย (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สิทธิพันธ์ พุทธหุน. (2547). ทางเลือกของมวลประชา (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุภางค์พิมพ์ คล้ายธานี. (2557). การพัฒนาภาวะผู้นำในการสื่อสารตามแนวพระพุทธศาสนา (ดุษฏีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุรพล สุยะพรหม และนันทนา นันทวโรภาส. (2562). การสื่อสารทางการเมืองของพระเทพปฏิภาณวาที (เจ้าคุณพิพิธ) : ศึกษาในช่วงเวลา พ.ศ. 2540-2560 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารทางการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.