การบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำ ของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พระมหาศิวพล พลเมธี นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, สังควัตถุธรรม, นักการเมืองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับภาวะผู้นำนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี และ 3. นำเสนอการบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ซึ่งได้คำนวณจากสูตรของยามาเน่ โดยทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 2 รูป และ 16 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงกับผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่เป็นผู้มีความรู้และเกี่ยวข้องการการวิจัย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนา เป็นผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานีโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยที่ส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 3. การบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี พบว่า การใช้หลักสังควัตถุธรรมมาช่วยส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่น ให้มีภาวะผู้นำที่ดีขึ้น ในด้านการโน้มน้าวหรือชักจูงอย่างมีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญาการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ทำให้ผู้คนยอมรับนับถือในตัวตนผู้นำได้ และการกระตุ้นปัญญาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย สองฝ่ายในที่นี้หมายถึง ฝ่ายการเมืองกับฝ่ายประชาชนที่เป็นผู้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

References

กรีฑา คงพยัคฆ์. (2563). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 29-41.

กุลชัย โพธิ์นันท์. (2016). ภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักพรหมวิหาร 4. Journal of Roi Kaensarn Academi, 1(2), 53.

ชุมพล เพ็งศิริ. (2563). การส่งเสริมความเข้มแข็งการเมืองภาคประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ณฐมน หมวกฉิม. (2564). การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปของไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล. (2563). การบูรณาการหลักธรรมาธิปไตยเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระชินกร สุจิตฺโต. (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการสื่อสารทางการเมืองสำหรับประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดเอกชัย จนฺทโชโต. (2565). พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพบูลย์ สุขเจตนี. (2563). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อ นักการเมือง ระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สงุ่น ตรีสุขี. (2559). การบูรณาการหลักสังคหวัตถุกับการบริหารการประปานครหลวง ภาค 1 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุมาลี บุญเรือง. (2564). การพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธารา รัชกิจ. (2019). ก้าวสู่การเป็นผู้นำที่ดีอย่างที่ทุกองค์กรต้องการ. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190605-leadership/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี. (2564). ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในจังหวัดปทุมธานี. สืบค้น 11 สิงหาคม 2564 จาก https://shorturl.asia/7rQEb

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01