รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พระครูสุธรรมธีรานุยุต (ธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิกร ศรีราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, พระธรรมทูต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อนำเสนอรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในจังหวัดนครราชสีมา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนาเฉพาะกลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า ด้านผู้ส่งสาร ได้แก่ การมีพระธรรมทูตที่มีความรู้และความเข้าใจในหลักธรรมอย่างลึกซึ้ง สามารถอธิบายหลักธรรมได้อย่างถูกต้องและชัดเจน และสามารถนำหลักธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม พระธรรมทูตมีจริยาวัตรที่ดีเป็นต้นแบบที่ดีแก่ผู้อื่น และมีทักษะในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมของกลุ่มเป้าหมาย ด้านสารที่เผยแพร่ รวมถึงการเลือกหลักธรรมที่เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย เช่น หากกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น อาจเน้นหลักธรรมเกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง การเลือกหลักธรรมที่เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์การเผยแผ่ และการนำเสนอหลักธรรมอย่างเข้าใจง่ายและนำไปปฏิบัติได้จริง ด้านช่องทางการสื่อสาร มีการใช้การบรรยายธรรมในสถานที่ต่าง ๆ เช่น วัด โรงเรียน ชุมชน การเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย การจัดกิจกรรมทางศาสนาต่าง ๆ และการเขียนหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ด้านผู้รับสาร การแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามลักษณะที่ต่างกัน เช่น เพศ อายุ สถานะทางสังคม จะช่วยให้พระธรรมทูตวางแผนการเผยแผ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพการนำเสนอหลักธรรมในลักษณะนี้จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ง่ายขึ้น การใช้สื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับลักษณะของกลุ่มเป้าหมายจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงและการเผยแผ่หลักธรรม อีกทั้งยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มเป้าหมายและช่วยให้พวกเขาเข้าใจและปฏิบัติตามหลักธรรมได้อย่างมีความหมายมากขึ้น

References

นันทนา นันทวโรภาส. (2558). สื่อการเมือง ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: บริษัทสถาพรบุ๊คส์ จำกัด.

พระครูสารกิจประยุต (สิงห์ โสภโณ). (2560). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 3(1), 15-15.

พระมหาชูชาติ จิรสุทฺโธ. (2565). การบูรณาการการสื่อสารเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(1), 211-224.

พระมหาวิรุธ วิโรจโน และพระครูปลัดสุรวุฒิ จนฺทธมฺโม. (2562). คุณลักษณะพิเศษของผู้เผยแผ่ธรรมในพระพุทธศาสนา. วารสารวิชาการพระพุทธศาสนาเขตลุ่มน้ำโขง, 2(2), 33-42.

พระมหาศิวกร ปญฺญาวชิโร และคณะ. (2564). บทบาทและหน้าที่ของพระธรรมทูตจากอดีตสู่ปัจจุบัน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 6(1), 116-131.

พระมหาสุเทพ สุวฑฺฒโน. (2562). กลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1363-1378.

พระศรีสิทธิวิเทศ (ธวัชชัย ธมฺมชโย). (2563). รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูต ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอนุรักษ์ อนุรกฺขิโต. (2566). รูปแบบการพัฒนาการฝึกอบรมผู้นำเยาวชนต้นแบบด้านคุณธรรมโดยพุทธสันติวิธี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(2), 667-680.

พุฒิพันธุ์ จนฺทวํโส. (2565). บทบาทของพระธรรมทูตในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในโรงเรียน อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(3), 113-124.

ภารดี พูลประภา เอี่ยมเจริญ. (2561). รูปแบบการแก้ไขวิกฤติศรัทธาในพระสงฆ์ตามหลักพระธรรมวินัย. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 7(1), 25-40.

มนัสวี ศรีนนท์. (2560). วิเคราะห์หลักการเรียนการสอนตามนัยพระพุทธศาสนา. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 5(1), 122-132.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01