การพัฒนางานสาธารณูปการต้นแบบของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พระศรีวัชรวิสุทธิ์ (โกวิท อภิปุญฺโญ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, สาธารณูปการ, พระสังฆาธิการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการพัฒนางานสาธารณูปการต้นแบบของพระสังฆาธิการ 2. ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนางานสาธารณูปการต้นแบบของพระสังฆาธิการ และ 3. นำเสนอแนวทางการพัฒนางานสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 326 รูป เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 2 เป็นวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน การสัมภาษณ์เชิงลึกใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการพัฒนางานสาธารณูปการต้นแบบของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมาในภาพรวมในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านกิจการอันเกี่ยวกับวัด ส่วนการพัฒนางานสาธารณูปการเป็นหน้าที่ของพระสังฆาธิการในการดูแลการก่อสร้าง บูรณะ ซ่อมแซม ปฏิสังขรณ์ และดูแลรักษาสิ่งก่อสร้างอาคารสถานที่ภายในวัด เช่น พระอุโบสถ เมรุ อาคารเรียน หอธรรมการปรับปรุงสภาพวัด และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของวัด เน้นการแก้ไขข้อบกพร่อง พัฒนา และส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาให้มีคุณภาพ 2. วิเคราะห์การพัฒนางานสาธารณูปการต้นแบบของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา จุดแข็ง เจ้าอาวาสกำหนดนโยบายสำคัญของคณะสงฆ์ในการขับเคลื่อนงานสาธารณูปการ จุดอ่อน เจ้าอาวาสบางรูปขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการ โอกาส การจัดหาทุนทรัพย์ได้จากประชาชนที่มีศรัทธาต่อวัดการมีส่วนร่วมของชุมชน อุปสรรค ขาดการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอ ไม่สามารถแบ่งงานรับผิดชอบได้อย่างทั่วถึง  3. นำเสนอแนวทางการพัฒนางานสาธารณูปการของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครราชสีมา ด้านการวางแผนตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ด้านการลงมือปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการตรวจสอบประเมินผลตามแผนที่กำหนด วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกี่ยวข้อง ด้านการปรับปรุงแก้ไข นำผลการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกี่ยวข้องมาปรับปรุงแก้ไข

References

กนก แสนประเสริฐ และคณะ. (2555). การจัดการดูแลทรัพย์สินและศาสนสมบัติของวัด. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

คณะกรรมการประสานงาน แผนยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา. (2561). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2561 ตามแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ระยะปี 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ใจ บุญชัยมิ่ง. (2560). การศึกษากลยุทธ์การพัฒนาวัดการจัดการสาธารณูปการในจังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 17(2), 115-126.

โชติ บดีรัฐ. (2554). การบริหารงานของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 4 เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์.

ไทยพับลิก้า. (2563). สถิติชี้จำนวนวัดเพิ่มขึ้นปีละ 300 วัด! ยุครุ่งเรืองของศาสนาแล้วจริงหรือ?. สืบค้น 10 มิถุนายน 2563, จาก https://thaipublica.org/monastery

ประเวศ วะสี. (2545). พระสงฆ์กับการรู้เท่าทันสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ.

เพิ่มศักดิ์ โคตรชมพู. (2559). บทบาทในการพัฒนาสังคมของวัดในจังหวัดหนองคาย. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

วรพงษ์ แสนเมือง. (2556). การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการดำเนินงานของวัด พัฒนาตัวอย่างในเขตการศึกษา 11 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา. (2563). วัดในจังหวัดนครราชสีมา. สืบค้น 10 มิถุนายน 2563, จาก http://www.lecture.cs.buu.ac.th

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. (2563). โคราชจัดกิจกรรมโครงการจิตอาสาพัฒนาวัด ประชา รัฐ สร้างสุข. สืบค้น 10 มิถุนายน 2563, จาก https://shorturl.asia/iySIz

สุพัตรา จิตตเสถียร. (2553). ความขัดแย้งทางการเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01