การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนากระบวนการการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • พระมหาภานุพงษ์ ญาณวิชโย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธวัชชัย สมอเนื้อ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • รัฐพล เย็นใจมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, หลักพุทธธรรม, พัฒนากระบวนการบุคคลากร, สำนักงานพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับกระบวนการการปฏิบัติงานของบุคลากร 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนา 4 กับกระบวนการการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 3. เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนากระบวนการการปฏิบัติงานของบุคลากร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ พระสังฆาธิการในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 813 หากลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 269 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 12 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับกระบวนการการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักภาวนา 4 กับการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมาก 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนากระบวนการการปฏิบัติงานของบุคลากร ควรนำหลักธรรมมาบูรณาการเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้วยการควบคุมการใช้จ่ายไม่เกินความจำเป็น พร้อมทั้งพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคมในลักษณะที่เกื้อกูล สร้างสรรค์ มีความประพฤติเรียบร้อย โดยให้การสนับสนุนทางจิตใจ อารมณ์ ให้โอกาสในการศึกษา และพัฒนาทักษะทางจิตใจเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้นำ สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของบุคลากร โดยให้โอกาสในการเข้าร่วมอบรม หรือการศึกษาด้านต่าง ๆ

References

พรพิมล ศิริวุฒิรังสรรค์. (2562). การพัฒนาบุคลากรภาครัฐของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด กรณีศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2540). พุทธธรรมกับการพัฒนาชีวิต. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

เยาวลักษณ์ สุตะโคตร. (2553). การพัฒนาภาวะผู้นำของพนักงานเทศบาล: กรณีสำนักงานเทศบาลเมืองมุกดาหาร (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วรรณรัตน์ ศรีกนก. (2556). การพัฒนากรอบกระบวนการของบุคลากรวิทยาลัยกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 14(3), 151-158.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2560). แนวปฏิบัติในการบริหารสำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

_____. (2562). ภารกิจ และหน้าที่รับผิดชอบ. สืบค้น 18 สิงหาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/7oSrj

_____. (2564). รายงานประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สืบวงศ์ กาฬวงศ์. (2558). การพัฒนากระบวนการผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุรพล สุยะพรหม. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทำงการจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อัจฉรา หล่อตระกูล. (2557). การพัฒนากระบวนการพนักงานมหาวิทยาลัยของรัฐ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อากาศ อาจสนาม. (2557). รูปแบบการพัฒนากระบวนการพยาบาลเชิงพุทธบูรณาการของพยาบาลสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

NKH WORLD JAPAN. (2023). New earthquake warning system for the northern region and the region Northeast Japan. Retrieved October 20, 2023, fromhttps://www3.nhk.or.jp/nhkworld/th/information/202301060600/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01