การปฏิบัติงานของบุคลากรตามนโยบายภาครัฐ ของเทศบาลเมืองลำตาเสา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การปฏิบัติงาน, บุคคลกร, นโยบายภาครัฐบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการปฏิบัติงานของบุคลากรตามนโยบายภาครัฐ 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานของบุคลากรตามนโยบายภาครัฐและ 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของบุคลากรตามนโยบายภาครัฐ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้บริหาร และบุคลากรของเทศบาลเมืองลำตาเสา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 130 คน โดยใช้ประชากรทั้งหมด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับการปฏิบัติของบุคลากรตามนโยบายภาครัฐ จำแนกตามหลักอิทธิบาท 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. หลักอิทธิบาท 4 กับการปฏิบัติงานของบุคลากรตามนโยบายภาครัฐ พบว่า หลักอิทธิบาท 4 โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก 3. การปฏิบัติงานของบุคลากรตามนโยบายภาครัฐ ปัญหา อุปสรรค พบว่า บุคลากร มีความรู้ และความพร้อมในการปฏิบัติงานน้อย ปฏิบัติงานล่าช้าไม่ตรงเวลาต้องปรับระเบียบใหม่โดยจัดให้มีการอบรมบุคคลากรบ่อย ๆ เพื่อให้บุคลากรตระหนักรู้และเข้าใจในหน้าที่ของตนเอง เพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาต่อไปได้
References
ดวงเพชร สมศรี. (2556). การศึกษาการนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์และศิลปะแห่งชีวิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2560). ศัพท์รัฐประศาสนศาตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรี ชำนาญศิลป์. (2554). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการวิทยาลัยการอาชีพนครสวรรค์ตามหลักอิทธิบาท 4 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ และพิมพ์มลจรรย์ นามวัฒน์. (2561). การศึกษาเพื่อกำหนดหลักสูตรการพัฒนาราชการ (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2562). บทวิเคราะห์และแนวทางจัดการเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(1), 191-215.
ศศิพิมพ์ กองสุข. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามหลักอิทธิบาทกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานีชุมพร (รายงานการวิจัย) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมคิด บางโม. (2561). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด.
สิน พันธุ์พินิจ. (2547). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท จูนพับลิชชิ่ง จํากัด.
อภิโชติ แอ้นชัยภูมิ. (2565). การศึกษาเพื่อเสนอรูปแบบในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจที่ทำหน้าที่สายตรวจในสถานีตำรวจภูธรอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Frederick, K. H. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.