การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนตำบลหนองปรือ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
การประยุกต์, หลักพุทธธรรม, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ประชาชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อ และ 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประชาชนตำบลหนองปรือ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำนวน 384 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน จำนวน 10 รูปหรือคน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกันมีการ
มีส่วนร่วมทางการเมือง โดยรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยรวมไม่แตกต่างกันจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย และ 3. การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลหนอปรือ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี พบว่า 1. ด้านการเลือกตั้งควรสร้างโอกาสและความเท่าเทียมให้ทุกคน โดยการนำหลักธรรมพุทธศาสนามาใช้ 2. ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเมือง ควรสร้างช่องทางการสื่อสารที่เปิดกว้าง โปร่งใส และเข้าถึงได้ง่าย 3. ด้านการเป็นผู้มีบทบาทในชุมชน ผู้นำชุมชนควรส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและการปกครองของประชาชน เป็นหลักการสำคัญที่ส่งผลในการสร้างสังคมที่มีความยุติธรรมและยั่งยืนขึ้น
References
การปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง ให้มีการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ตามวิธีการและรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กฎหมายบัญญัติ. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 28.
กิตติ ศรีสมบัติ. (2559). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารงานของเทศบาล ตำบลสัน ผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จินตนา กะตากูล. (2652). การมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนศึกษาเฉพาะกรณี หมู่ที่ 4 ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัด นครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
จินตนา จงฤกษ์งาม. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแจ้งซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เทศบาลตำบลหนองปรือ. (2565). ข้อมูลประชากร. สืบค้น 10 สิงหาคม 2565, จาก https://nongpruecity.go.th/content/cate/49
ปรีชา เรืองจันทร์. (2560). การเมือง เศรษฐกิจและสังคม Politics Economy and Society (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พระกฤษฎายุทธ ธมฺมวโร. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคพลเมืองในการทวงผืนป่าดอยสุเทพ (ป่าแหว่ง) จังหวัดเชียงใหม่ (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาณรงค์ ธมฺมเมธี. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการเลือกตั้งทั่วไปของชุมชนท่าเตียน กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา รัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวิษณุ วิสารโท. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักอปริหานิยธรรมของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเมธาวินัยรส (สุเทพ พุทธจรรยา). (2563). การเมืองภาคพลเมือง: การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 3(2), 67-72.
พระสุชาติ อาภสฺสโร. (2562). การปฏิบัติงานตามหลักอปริหานิยธรรมของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับหลักประชาธิปไตยในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. Tokyo: Harper International Education.