การส่งเสริมบทบาทการมีจิตอาสาของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระพุฒิพันธุ์ จนฺทวํโส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, บทบาท, จิตอาสา, คณะสงฆ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปในการดำเนินงานจิตอาสา2. ศึกษาองค์ประกอบในการส่งเสริมบทบาทการมีจิตอาสา 3. นำเสนอวิธีการส่งเสริมบทบาทการมีจิตอาสาของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระเบียบวิธีวิจัยนี้อิงตามแนวทางวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 25 รูปหรือคน และได้จัดทำการสนทนากลุ่มเฉพาะทางกับผู้ทรงคุณวุฒิอีก 9 คน เครื่องมือหลักที่ใช้ในการสัมภาษณ์นี้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยวิธีการพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการดำเนินงานจิตอาสาของคณะสงฆ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีจุดแข็งในการส่งเสริมจิตอาสาและเข้าถึงประชาชนแต่ยังขาดการวางแผน งบประมาณ ความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ และการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน โอกาสในการช่วยเหลือสังคมหลากหลายด้านยังมีมาก ขณะที่อุปสรรคหลักคือความร่วมมือและขาดบุคลากรสงฆ์ 2. กระบวนการส่งเสริมบทบาทจิตอาสาของคณะสงฆ์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประกอบด้วย 1. การปลูกฝังความตระหนักถึงจิตอาสาผ่านหลักธรรมพุทธศาสนา 2. การเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ความรู้ และทักษะการสื่อสาร 3. การสร้างความเชื่อมั่นและพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการมีจิตอาสา รวมถึงการชื่นชมพระที่ทำงานอาสาได้ดี 4. การเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาอย่างต่อเนื่องและการเผยแพร่ผลงานของพระสงฆ์ในกิจกรรมเหล่านี้ 3. การส่งเสริมบทบาทจิตอาสาของคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1. ทุ่มเทและอุทิศตน สร้างแรงจูงใจและจิตสำนึกจิตอาสา จัดกิจกรรมหลากหลาย ยกย่องพระสงฆ์จิตอาสา 2. เคารพความแตกต่าง ส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำงานเป็นทีม หลีกเลี่ยงการแบ่งแยก 3. คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม สร้างความตระหนักถึงการคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม พัฒนาทักษะและแนวทางปฏิบัติ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 4. การลงมือกระทำ สร้างจิตสำนึกถึงความสำคัญของงานจิตอาสา พัฒนาทักษะและความรู้แก่คณะสงฆ์เพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

References

ดวงฤทัย สังข์ทอง. (2555). บทบาทของรัฐ ทุน แรงงานในกระแสโลกาภิวัตน์ : กรณีศึกษา บันทึกความเข้าใจด้านแรงงานระหว่างเกาหลีใต้กับไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่มพฤกษ์, 30(2), 79-96.

พระครูไพศาลวัฒนคุณ (สมพร ฐิตปุญฺโญ). (2557). ประสิทธิผลการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดปทุมธานี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวินัยธรสุวรรณ สุวณฺโณ. (2566). การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(1), 277-286.

พระครูสังฆวิสุทธิคุณ (บุญยุทธ พุทฺธสโร). (2559). การพัฒนาจิตอาสาของพระสังฆาธิการ ในจังหวัดระยอง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระใบฎีกาสมคิด นาถสีโล. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการงานสงเคราะห์ประชาชนตามหลักสังคมสงเคราะห์เชิงพุทธบูรณาการของคณะสงฆ์จังหวัด

พิจิตร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พีรพงศ์ กนกเลิศวงศ์ และธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์. (2563). การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดปทุมธานี วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 20-38.

เมธประจักษ์ เติมกิจขจรสุข และคณะ. (2563). รูปแบบเทคนิคการพูดสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานจิตอาสาโดยพุทธสันติวิธี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(3), 870-881.

วราวิชญ์ สุขวรเวท และกฤศกมล อภิบาลศรี. (2567). ซอฟต์พาวเวอร์กับผู้บริหารจิตอาสาต้นแบบ. วารสารปราชญ์ประชาคม, 2(1), 72-85.

สัณหกฤษณ์ บุญช่วย และจตุพร ธิราภรณ์. (2561). การป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน: กรณีศึกษาโครงการจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” ชุมชนรอบวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 11(1), 27-55.

หทัยภัทร ตังกุลา และอัญญรัตน์ เชิงค้า. (2563). รูปแบบการสร้างจิตอาสาอย่างสร้างสรรค์เพื่อความเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมไทย. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 1(1), 52-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01