การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาแผนกธรรม ของคณะสงฆ์จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การบริหารจัดการ, การจัดการศึกษา, ธรรมศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไป 2. ศึกษาองค์ประกอบ 3. นำเสนอวิธีพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดฉะเชิงเทรา ระเบียบวิธีวิจัยนี้อิงตามแนวทางวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 25 รูปหรือคน และได้จัดทำการสนทนากลุ่มเฉพาะทางกับผู้ทรงคุณวุฒิอีก 9 คน เครื่องมือหลักที่ใช้ในการสัมภาษณ์นี้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยวิธีการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไป จุดแข็ง คือ การมีคุณภาพและมาตรฐานการบริหารจัดการที่ดีและการสนับสนุนจากภาครัฐและประชาชน จุดอ่อน คือ ขาดเป้าหมายในการพัฒนา ขาดการปรับปรุงหลักสูตร และขาดการติดตามผล โอกาส คือ การบูรณาการกับการศึกษาสามัญและการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร อุปสรรค คือ ขาดทรัพยากรและครูในบางพื้นที่ และปัญหาการเข้าถึงเทคโนโลยี การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนและครูจะช่วยให้การศึกษาแผนกธรรมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. องค์ประกอบในการบริหารจัดการ ประกอบด้วย 1. การคัดเลือกและพัฒนาครู สร้างเครือข่ายและมอบรางวัล 2. การบริหารงบประมาณอย่างมีเมตตาและปรารถนาดี 3. การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยและตรวจสอบได้ 4. การกำกับดูแลคุณภาพและความโปร่งใสในการบริหาร พร้อมส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดทำงบประมาณ 3. การพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาแผนกธรรม เน้น 4 ด้านสำคัญ คือ 1. หลักสูตร ที่กำหนดเป้าหมายและพัฒนาหลักสูตร
ให้ทันสมัย 2. การเรียนการสอน โดยการพัฒนาครูและบุคลากร การจัดหาสื่อการสอนที่ทันสมัย และส่งเสริมความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย 3. สื่อการสอน ที่จัดหาและพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน และมีการมีส่วนร่วมของพระภิกษุสามเณร 4. การประเมินผล ที่ต้องชัดเจน ครอบคลุมด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะของผู้เรียน และการเผยแพร่ข้อมูลควรมีรูปแบบที่หลากหลาย
References
พระครูกิตติวิสุทธิวัฒน์ (สมปอง สมฺปุญฺโณ). (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ของคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรปราการ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2545). การคณะสงฆ์และการศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานิกร ฐานุตฺตโร (ศรีราช). (2562). ประสิทธิผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาภานุพงษ์ ญาณวิชโย และคณะ. (2567). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนากระบวนการการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ. 7(4). 211-224.
พระราชวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2536). 100 ปี มหามกุฎราชวิทยาลัย (2436-2536). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระสุพิทักษ์ โตเพ็ง. (2561). รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนพระปริยัติธรรมสู่ความเป็นเลิศ. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร, 6(4), 1741-1753.
สิทธิทัศน์ สนเทียนวัด และเปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์. (2564). วิธีการนำเสนอเนื้อหาธรรมบทและจัดประเภทพระคาถาในหนังสือพระธัมมปทัฏฐกถาแปลภาค 1-4 (รายงานการวิจัย). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
สิรินุช บุสโร. (2564). แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนบาลี สำนักเรียนดีเด่นหนกลาง โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกาย (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุภาพร มากแจ้ง และสมปอง มากแจ้ง. (2543). การศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
โสดาดี บรรจง และคณะ. (2555). การศึกษารูปแบบและคุณค่าของเหตุผลในการสอนธรรมของพระสงฆ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีอิทธิพลต่อศรัทธาของประชาชน (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.