การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมผ่านหลักการกุญแจเก้าดอกของสถาบัน พลังจิต ธรรมะ จักรวาลของบุคลากรเทศบาลเมืองในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ชณภา ปุญณนันท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, หลักการกุญแจเก้าดอก, หลักไตรสิกขา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมผ่านหลักการกุญแจเก้าดอกของสถาบันพลังจิต ธรรมะ จักรวาลของบุคลากรเทศบาลเมืองในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2. ตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมผ่านหลักการกุญแจเก้าดอกของสถาบันพลังจิต ธรรมะ จักรวาลของบุคลากรเทศบาลเมืองในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3. นำเสนอโมเดลและแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมผ่านหลักการกุญแจเก้าดอกของสถาบันพลังจิตธรรมจักรวาลของบุคลากรเทศบาลเมืองในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 357 คน และการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 คน ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ในขณะที่ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมผ่านหลักการกุญแจเก้าดอกของสถาบันพลังจิต ธรรมะ จักรวาลของเทศบาลเมืองในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์อยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมผ่านหลักการกุญแจเก้าดอกของสถาบันพลังจิต ธรรมะ จักรวาลของบุคลากรเทศบาลเมืองในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 73 3. โมเดลและแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมควรใช้หลักการกุญแจเก้าดอกเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้นำเชิงนวัตกรรมผ่านกิจกรรมและกระบวนการพัฒนาที่หลากหลาย แนวทางนี้มุ่งเน้นการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมการทำงานเป็นทีม การมีวิสัยทัศน์ ความคิดสร้างสรรค์ การบริหารความเสี่ยง การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อนวัตกรรม และการแสดงบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนนวัตกรรม อย่างเป็นรูปธรรมและสร้างคุณค่าที่แท้จริงให้กับองค์กรและสังคม

References

ขจรจิตร์ โลหิตหาญ และนิตยา สินเธาว์. (2559). ประสิทธิผลการนำหลักธรรมาภิบาลไปฏิบัติในการบริหารงานของเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมือง ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 39-50.

ชญาภา เมธีวรฉัตร. (2557). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เดือนฉาย เงางาม และคณะ. (2565). ภาวะผู้นำตามหลักกัลยานิมิตธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(1), 39-50.

ธีรพจน์ แนบเนียน และคณะ. (2565). แนวทางการพัฒนาผู้นำเชิงกลยุทธ์ตามหลักทุติยปาปณิกสูตรของผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 129-142.

นภาพร ศรีสุคันธพฤกษ์ และคณะ. (2566). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(3), 117-131.

ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1.

พระประเสริฐ วรธมฺโม. (2558). พุทธบูรณาการการพัฒนาทุนมนุษย์สู่ความเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของคณะสงฆ์ไทย (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุพัฒน์ นนฺทปญฺโญ. (2563). การพัฒนาศักยภาพพระสอนศีลธรรมในคณะสงฆ์ภาค 1 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 8-18.

วีนัส ธรรมสาโรรัชต์. (2566). การบูรณาการหลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์. (2566). ข้อมูลคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์. สืบค้น 30 มกราคม 2566, จากhttps://shorturl.asia/357x0

Avolio, B. J. & Bass, B. M. (2004). Multifactor Leadership Questionnaire Manual and Sampler Set (3rd ed.). Redwood City, CA: Mindgarden.

Hair, J. F. et al. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Pearson: New York.

Kline, R. B. (2005). Principles and Practice of Structural Equation Modeling (2nd ed.). New York: The Guilford Press.

Poedloknimit, C. & Klomkul, L. (2020). A Causal Relationship Model of Mental Development and Create Intellectual Prosperity among Ethical Training in Palangjit Dhamma Jakrawan Institution with Nine-Keys Philosophy as a Mediator. Solid State Technology, 63(2s), 1576-1581.

Punnanan, C. (2020). Nine Keys Philosophy for Human Resource Development by Palangjit Dhamma Jakrawan Institute. Journal of MCU Nakhondhat, 7(5), 12-20.

Sethibe, T. & Steyn, R. (2017). The impact of leadership styles and the components of leadership styles on innovative behaviour. International Journal of Innovation Management, 21(2), 1-19.

Winton, S. L. et al. (2018). Developing leadership for increasingcomplexity: A review of online graduate leadership programs. Journal of Leadership Education, 17(1), 162-176.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01