ประสิทธิผลการอบรมเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ผ่านหลักการกุญแจเก้าดอกของสถาบันพลังจิต ธรรมะ จักรวาล

ผู้แต่ง

  • นัทปภา นุชาภัทร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ทุนมนุษย์, หลักการกุญแจเก้าดอก, หลักภาวนา 4, ประสิทธิผลการอบรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาประสิทธิผลการอบรมเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ผ่านหลักการกุญแจเก้าดอกของสถาบันพลังจิต ธรรมะ จักรวาล 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการอบรมเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ผ่านหลักการกุญแจเก้าดอกของสถาบัน พลังจิต ธรรมะ จักรวาล และ 3. นำเสนอรูปแบบประสิทธิผลการอบรมเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ผ่านหลักการกุญแจเก้าดอกของสถาบันพลังจิต ธรรมะ จักรวาล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 คน ได้แก่ ด้านการจัดอบรม ด้านการศึกษา ด้านรัฐประศาสนศาสตร์
ด้านพระพุทธศาสนา และด้านหลักการกุญแจเก้าดอก ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลการอบรมตามหลักการพัฒนาทุนมนุษย์ กุญแจเก้าดอก และภาวนา 4 อยู่ในระดับมาก 2. กระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ หลักการกุญแจเก้าดอก และหลักภาวนา 4 ส่งผลต่อประสิทธิผลของการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลได้ร้อยละ 51.3-69.5 3. รูปแบบประสิทธิผลในการพัฒนาทุนมนุษย์สะท้อนให้เห็นความสำคัญของการบูรณาการองค์ความรู้ทางพุทธศาสนา เข้ากับกระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ในบริบทของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนานิสิตครูอย่างรอบด้าน สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคม และนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศในระยะยาว

References

ชณภา ปุญณนันท์. (2566). การประยุกต์ใช้หลักการกุญแจเก้าดอกของสถาบันพลังจิต ธรรมะ จักรวาล เพื่อเสริมสร้างทักษะภาวะผู้นําในศตวรรษที่ 21 ให้มี ความสามารถเหนือปัญญาประดิษฐ์. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(5), 217-228.

ชนะยุทธ เกตุอยู่. (2559). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธตามแนวทางของพระสังฆพัฒนาในจังหวัดเพชรบูรณ์ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา

รัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เทอดทูน ค้าขาย และคณะ. (2562). การศึกษาสภาพปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 6(2), 33-46.

พระณธีร์วิชญ์ คมฺภีรปญฺโญ. (2559). การพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรเทศบาลในยุคโลกาภิวัตน์ตามหลักพุทธธรรม (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสน ศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน. (2564). พุทธธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูรีภัทร ห้วยหงส์ทอง. (2562). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรินทร จินดาวงศ์ และวันเพ็ญ วัฒนกูล. (2566). การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์: แนวคิดและการประยุกต์หลักพุทธธรรม. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรม ปริทรรศน์, 6(3), 228-235.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2566) จำนวนนิสิตจำแนกตามระดับการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564. สืบค้น 16 มีนาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/3AK1W

สุวัฏ สอนจันทร์. (2563). ประสิทธิผลการบริหารงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามหลักพุทธธรรมของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Charoensap, A. et al. (2019). Effect of ethical leadership and interactional justice on employee work attitudes. Journal of leadership studies, 12(4), 7-26.

Flores, M. A. (2020). Preparing teachers to teach in complex settings: Opportunities for professional learning and development. European Journal of Teacher Education, 43(3), 297-300.

Ingenoff, D. & Buhmann, A. (2016). Advancing PR measurement and evaluation: Demonstrating the properties and assessment of variance-based structural equation models using an example study on corporate reputation. Public Relations Review, 42(3), 418-431.

Poedloknimit, C. & Klomkul, L. (2020). A Causal Relationship Model of Mental Development and Create Intellectual Prosperity among Ethical Training in Palangjit Dhamma Jakrawan Institution with Nine-Keys Philosophy as a Mediator. Solid State Technology, 63(2s), 1576-1581.

Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49-60.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01