พุทธจริยธรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
พุทธจริยธรรม, ศักยภาพการปฏิบัติงาน, บริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาศักยภาพการปฏิบัติงาน 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการปฏิบัติงาน และ 3. นำเสนอพุทธจริยธรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ ความรู้ ความสามารถ และทักษะ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทย พบว่า กระบวนการพัฒนาบุคลากร คือ การพัฒนา การฝึกอบรม การศึกษา และหลักธรรมสุจริต 3 คือ กายสุจริต ประพฤติชอบทางกาย มโนสุจริต ประพฤติชอบ
ทางใจ วจีสุจริต ประพฤติชอบทางวาจา ส่งผลต่อศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. พุทธจริยธรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทย พบว่า การเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานมี 3 ด้านคือ ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และความสามารถ (Abilities) โดยมีการนำหลักธรรมสุจริต 3 มาเสริมสร้างศักยภาพ ประกอบด้วย กายสุจริต ประพฤติชอบทางกาย วจีสุจริต ประพฤติชอบทางวาจา มโนสุจริต ประพฤติชอบทางใจ นำกระบวนการพัฒนาบุคลากรมาเป็นพื้นฐานในการเสริมสร้างศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทยทั้งการฝึกอบรม การศึกษา และการพัฒนา
References
ไกรวิน ไชยวรรณ. (2559). การเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารงานบุคลากรด้านการบินด้วยหลักพุทธธรรมของสถาบันการบินพลเรือน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ดวงสมร มะโนวรรณ และคณะ. (2562). แนวทางในการพัฒนาและการเพิ่มผลิตภาพแรงงานในภาคบริการต่อเศรษฐกิจไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2), 736-756.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2567). การพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อความยั่งยืน. สืบค้น 28 ธันวาคม, จาก https://shorturl.asia/s0XIH
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด.
พระมหายุทธพิชาญ โยธสาสโน และคณะ. (2566). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ปัจจัยสู่ความสำเร็จและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 10(1), 169-192.
พระมหาศุภกิจ สุภกิจฺโจ. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิภูษณ มากไชย และคณะ. (2559). การนำหลักสุจริต 3 ไปใช้ในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 1(2), 35-54.
Cochran, W. G. (1963). Sampling Techniques (2nd ed.). New York: John Wile Sons.