รูปแบบการบริหารจัดการที่ดีของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล ในจังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • พระแมนรัตน์ จตฺตมโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การจัดการที่ดี, หน่วยอบรมประชาชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดสมุทรสงคราม 2. ศึกษากระบวนการจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดสมุทรสงคราม  3. นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นการวิจัย
เชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสังฆาธิการ คณะสงฆ์ ผู้นำชุมชนหมู่บ้าน ข้าราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในจังหวัดสมุทรสงคราม และนักวิชาการทางด้านการจัดการเชิงพุทธ จำนวน 25 รูปหรือคน เครื่องมือในการวิจัยใช้การสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหาเป็นเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการของหน่วย พบว่า 1. ด้านจุดแข็ง วัดมีอบรมประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 2. ด้านจุดอ่อน มีข้อจำกัดในการสื่อสารขาดแหล่งเงินทุนในการดำเนินการอบรม 3. ด้านโอกาส พระสงฆ์มีหน้าที่อบรมศีลธรรมแก่วัยรุ่น 4. ด้านอุปสรรค ขาดความประสานงานจากหน่วยงานอื่น 2. กระบวนการในการบริหารจัดการที่ดี พบว่า 1. ด้านคน มีการให้บุคลากรทำงานตามบทบาทและหน้าที่ 2. ด้านเงิน มีการจัดทำงบประมาณในการลงพื้นที่ 3. ด้านวัสดุสิ่งของ การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ 4. ด้านการจัดการ จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ให้พร้อม 3. การบริหารจัดการที่ดี พบว่า 1. ด้านสงเคราะห์และอนุเคราะห์ประชาชนในท้องถิ่น มีการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะอาชีพให้เหมาะสม 2. ด้านเป็นศูนย์กลางประสานงานระหว่างวัด บ้าน และหน่วยงานมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเรียนรู้ระหว่างชุมชน 3. ด้านเป็นศูนย์รวมความคิดของประชาชนทุกหมู่เหล่า มีการอบรมและพัฒนาตนเอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น 4. ด้านเป็นศูนย์รวมพลังในการป้องกันหมู่บ้านให้เกิดสันติสุข คณะสงฆ์และหน่วยมีการตั้งกลุ่ม Line เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยในหมู่บ้าน 5. ด้านเป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารของทางราชการที่ถูกต้อง มีศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารให้บริการข้อมูลที่เชื่อถือได้แก่ประชาชน

References

กรมการศาสนา. (2540). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระครูขันตยาภิรักษ์ (บรรยง ปุญฺโณ). (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาของคณะสงฆ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูพิทูรนคราภิรักษ์ (อนุชาติ อยู่ยิ่ง). (2564). การพัฒนาการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิเทศกัลยาณธรรม (ฐิติกร กลฺยาณธมฺโม). (2564). การพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของวัดไทยในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิวิธธวัชชัย (ขวัญชัย วรปุญฺโญ). (2564). การพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาชุมชนของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดพิจิตร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสมุห์ดิฐภูมิ จิรธมฺโม. (2565). รูปแบบการบริหารจัดการหน่วยอบรมประชนประจำตำบลของคณะสงฆ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(2), 352-366.

พระครูอาทรวชิรกิจ (มานะ ฐานิสฺสฺโร). (2562). การพัฒนาการจัดการหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลในจังหวัดกำแพงเพชร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาปรีชา เขมนนฺโท. (2562) การประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิสิฐ เจริญสุข. (2543). การปฏิบัติงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01