พุทธวิธีการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในเขต อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
พุทธวิธีการ, การบริหารจัดการ, โรงเรียนผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้สูงอายุ
2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สูงอายุ 3. นำเสนอพุทธวิธีการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุในเขตอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 180 คนซึ่งเป็นผู้สูงอายุเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ และการวิเคราะห์เอกสาร ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ 1. ด้านสมุตเตชนา (แกล้วกล้า) 2. ด้านสภาพแวดล้อม 3. ด้านสังคม 4. ด้านเศรษฐกิจ 5. ด้านสันทัสสนา 6. ด้านสมาทปนา (จูงใจ) 7. ด้านสุขภาพ 8. ด้านสัมปหังสนา (ร่าเริง) 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สูงอายุ พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3. การนำเสนอพุทธวิธีการบริหารจัดการ ได้แก่ 1. ด้านสุขภาพ คือ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยเชิญผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีมาเป็นวิทยากร 2. ด้านสังคม คือ ส่งเสริมการเข้าสังคมด้วยกิจกรรมมีส่วนร่วม ยกย่องผู้มีปฏิสัมพันธ์ดีเด่น 3. ด้านเศรษฐกิจ คือ ส่งเสริมเศรษฐกิจผู้สูงอายุโดยเชิญวิทยากรแบ่งปันประสบการณ์ จัดตั้งกลุ่มเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย 4. ด้านสภาพแวดล้อม คือ ส่งเสริมสภาพแวดล้อมดีด้วยการมีส่วนร่วม และสร้างบรรยากาศโรงเรียนให้อบอุ่น
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). ทะเบียนโรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
พระกัมปนาท กิตฺติวิสุทฺโธ. (2563). พุทธวิธีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการทางการเคลื่อนไหวโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2561). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาไกรวรรณ์ ชินทตฺติโย และคณะ. (2561). การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุขององค์กรชุมชนอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 14(2), 83-96.
พระมหาเศรษฐวิชญ์ เสฏฺฐฃวิชฺโช. (2565). การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของวัดที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับ ผู้ปฏิบัติธรรมในจังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสง่า จนฺทวณฺโณ. (2561). การบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน ของคณะสงฆ์อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมพจน์ หวลมานพ. (2565). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ แบบสุนทรียะศิลป์ สำหรับโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดนครนายก (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดเก็บข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
Marketeer. (2022). Statistics on Thai elderly in 2022 The number of elderly people continues to increase but the birth rate is low. Retrieved March 20, 2023, from https://marketeeronline.com