รูปแบบการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในยุคปกติวิถีใหม่ ของคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พระศักดิ์จรินทร์ ฐิตสํวโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสุตวุฒิคุณบัณฑิต (สุนันท์ สุนนฺโท) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบ, ธรรมศึกษา, ยุคปกติวิถีใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไป 2. ศึกษาองค์ประกอบ 3. นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนธรรมศึกษาในยุคปกติวิถีใหม่ของคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน เครื่องมือในการทำวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ เก็บรวบรวมข้อมูลแล้วใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา สรุปเป็นความเรียง และการวิจัยเชิงปริมาณ แจกแบบสอบถาม กับ นักเรียนที่ศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษา ในจังหวัดราชบุรี จำนวน 314 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำข้อมูลมาทำการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการเรียนการสอนธรรมศึกษาของคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี ด้านบุคคล มีจัดการประชุมวางแผนการเรียนการสอน ด้านการเงิน มีการจัดการงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาทางการศึกษา ด้านวัสดุอุปกรณ์ มีการเลือกใช้อุปกรณ์และสื่อการสอนที่เหมาะสม ด้านการจัดการ มีการใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย 2. องค์ประกอบในการเรียนการสอนธรรมศึกษา ด้านเทคโนโลยี มีการใช้เทคโนโลยีในการสอนธรรมศึกษา ด้านทักษะการสื่อสาร มีการสื่อสารในการเรียนการสอนสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองและสนุกสนาน ด้านสื่อการเรียนออนไลน์ มีการบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับการศึกษา ด้านเครือข่ายการเรียนรู้ มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงกลุ่มคนที่มีความสนใจเดียวกัน 3. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในยุคปกติวิถีใหม่ของคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน  และคณะสงฆ์มีการวางแผนพัฒนาบุคลากร ในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ในยุคดิจิทัล การใช้อุปกรณ์สื่อสารใช้ในการเรียนการสอนทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้นมีงบประมาณในการพัฒนาด้านต่าง ๆ 

References

กรมการศาสนา. (2528). วิชาการพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

______. (2540). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

ธนู ศรีทอง และคณะ. (2549). การศึกษาแนวทางพัฒนาสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลีในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 11 (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2561). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเสนอ กุสลจิตฺโต และพระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกธรรมสำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรมในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 3. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ มจร, 2(2), 50-58.

พิไลพร หวังทรัพย์ทวี และอุทิศ บำรุงชีพ. (2561). ฉันทศึกษา: นวัดกรรมการออกแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงรุกผ่านการเล่นของเต็กไทยยุค 4.0. วารสารศึกษาศาสตร์, 29(3), 14-31.

วรเดช จันทรศร. (2541). การประเมินผลในระบบเปิด. กรุงเทพฯ: สมาคมรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า.

สุเชาว์ พลอยชุม. (2543). ประวัตินักธรรม. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01