รูปแบบการบริหารจัดการโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน ของวัดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
การอบรม, คุณธรรมจริยธรรม, เยาวชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปการบริหารจัดการโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของวัดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2. ศึกษากระบวนการในการบริหารจัดการโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของวัดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 3. นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของวัดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ พระสังฆาธิการ พระวิทยากร ผู้สนับสนุนโครงการ ข้าราชการ นักวิชาการด้านการจัดการเชิงพุทธ และเยาวชนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 10 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ เก็บข้อมูลและวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา สรุปเป็นความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของวัดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้านคน คณะสงฆ์มีการอบรมคุณธรรมและจริยธรรมแก่เยาวชน ด้านเงิน มีการมอบค่าตอบแทนให้พระธรรมวิทยากร ด้านสิ่งของและสถานที่ มีการจัดหาสื่อและวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น ด้านการจัดการ มีการบริหารจัดการโครงการในการฝึกอบรม 2. กระบวนการในการบริหารจัดการโครงการ
1. ด้านการวางแผน มีการร่วมมือของทุกฝ่ายเป็นสำคัญ 2. ด้านการดำเนินงาน มีการจัดอบรมภายในและภายนอกองค์กร 3. ด้านการประเมินผล มีการวัดผลสำหรับการดำเนินงานหรือโครงการ 4. ด้านการปรับปรุง มีการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการอบรม 3.รูปแบบการบริหารจัดการโครงการ 1. ขั้นตอนการวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน 2. ขั้นตอนการเตรียมโครงการ ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3. ขั้นตอนการปฏิบัติและควบคุมโครงการ มีการตรวจสอบความเหมาะสมและประเมินผลว่าตรงตามเป้าหมายหรือไม่ 4. ขั้นตอนการปิดโครงการ มีการสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค
References
กรมการศาสนา. (2553). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน กรมการศาสนา.
พระครูขันตยาภิรักษ์ (บรรยง ปุญญโณ). (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาของคณะสงฆ์จังหวัด (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูนนทกิจโกศล (สิริชัย สิริชโย). (2563). รูปแบบการจัดการความรู้ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
การจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูปลัดมหาเถรานุวัตร (ศรัณภิรมย์ กิตฺติธโร). (2561). รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการสภาพระนักเผยแผ่จังหวัดเพชรบุรี (ดุษฎีพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดนิคม กตปญฺโญ. (น่าชม). (2564). การพัฒนาเยาวชนต้นแบบ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ของคณะสงฆ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
______. (2565). การพัฒนาเยาวชนต้นแบบด้านคุณธรรมจริยธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(3), 255-307.
พระมหาปรีชา เขมนนฺโท. (2562). การประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอลงกรณ์ กนฺตวณุโณ. (2564). ประสิทธิภาพการจัดการอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชนของคณะสงฆ์อำเภอเมืองเพชรบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(1), 59-56.
สมพงษ์ จิตระดับ และอัญญมณี บุญชื่อ. (2551). หลักสูตรสิทธิเด็กและการวางแผนท้องถิ่นเพื่อเด็กและเยาวชน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส จำกัด.
เสกสรรค์ สนวา และคณะ. (2565). การประเมินแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาสร้างภาวะผู้นําเพื่อการประกันคุณภาพของนักศึกษาคณะนิติรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(1), 42-54.