การพัฒนาสมรรถนะตามหลักพุทธธรรมสำหรับบุคลากรอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ปภัญญ์ ลอยชื่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะ, หลักไตรสิกขา, บุคคลากรอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสมรรถนะของบุคลากรอาชีวศึกษา 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรสิกขากับการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรอาชีวศึกษา และ 3. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะตามหลักพุทธรรมสำหรับบุคลากรอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ บุคคลากรอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จำนวน 58 คน ใช้ประชากรทั้งหมด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ ส่วน
เชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูปหรือคน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า 1. สมรรถนะบุคลากรอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรสิกขากับการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พบว่า หลักไตรสิกขากับการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรอาชีวศึกษา
โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (R = .859**) 3. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะตามหลักพุทธธรรมสำหรับบุคลากรอาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล เน้นให้ผู้บริหารมีความรู้ ความสามารถ และความพร้อมในการปฏิบัติงาน โดยเน้นความถูกต้อง รวดเร็ว และมีคุณภาพ การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรต้องใช้หลายองค์ประกอบ เช่น การสื่อสารที่มีสติ การวางแผนและบริหารจัดการด้วยการวิเคราะห์การทำงานเป็นทีมโดยเคารพความคิดเห็น การมองการณ์ไกลในเชิงกลยุทธ์ การยืดหยุ่นต่อโลกาภิวัตน์ และการบริหารตนเองด้วยสติ สมาธิ และปัญญา การบูรณาการหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) เป็นหัวใจของการพัฒนาสมรรถนะทำให้บุคลากรมีความสัมพันธ์ดี
ในที่ทำงาน ควบคุมอารมณ์ และแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

พระครูวีรญาณสุนทร (จรินทร์ อาบคำ). (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักไตรสิกขา: กรณีศึกษาวัดตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระณธีร์วิชญ์ คมภีรปญ. (2560). การพัฒนาสมรรถะหลักของบุคลากรเทศบาลในยุคโลกาภิวัตน์ตามหลักพุทธรรม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ (พิมพ์ครั้งที่ 35). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระสมนึก ธีรปญฺโญ. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสมรรถนะต้นแบบ ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอธิการสกายแลบ ธมฺมธโร. (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 1 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล. (2565). ข้อมูลบุคลากร. สืบค้น 1 ตุลาคม 2565, จาก https://www.biac.ac.th/human.html

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.สืบค้น 19 สิงหาคม 2565, จาก http://regu.tu.ac.th/quesdata/Data/A41.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. สืบค้น 1 ตุลาคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/

สิทธิพงศ์ นกแอนหมาน และคณะ. (2559). สมรรถนะผู้บริการสถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 15(1), 43-58.

สุรพงษ์ เอิมอุทัย. (2564). แนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2556 เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาเพื่ออาชีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 6(2), 003-012.

Cronbach, L. J. (1971). Essentials of psychological testing (4th ed.). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-11