การบริหารจัดการงานสังคมสงเคราะห์ประชาชนในภาวะวิกฤตการระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 นครราชสีมา
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, งานช่วยเหลือประชาชน, สาธารณะสงเคราะห์, โควิด-19บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพในการบริหารจัดการ 2. ศึกษาองค์ประกอบในการบริหารจัดการ 3. นำเสนอวิธีการบริหารจัดการงานสังคมสงเคราะห์ในภาวะวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในนครราชสีมา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิอีก 9 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพในการบริหารจัดการ 1. จุดแข็ง คือ ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ 2. จุดอ่อน คือ การขาดทรัพยากรและบุคลากร รวมถึงการประสานงานที่ไม่เป็นระบบ 3. โอกาส คือ การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ควรเน้นย้ำ และ 4. อุปสรรค คือ การขาดแคลนงบประมาณและบุคลากร 2. องค์ประกอบในการบริหารจัดการ พบว่า 1. การวางแผนเริ่มจากการวิเคราะห์สถานการณ์และจัดสรรทรัพยากร 2. การลงมือปฏิบัติเน้นการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและให้บริการทางการแพทย์ 3. การตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงาน รวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้รับบริการ และ 4. การปรับปรุงแก้ไข มุ่งเน้นการประเมินผลและพัฒนาทักษะของเจ้าหน้าที่ 3. การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม สังคหวัตถุ 4 ในการบริหารจัดการงานสังคมสงเคราะห์ประกอบด้วย 1. ทาน เน้นการให้สิ่งของจำเป็นและบริการทางการแพทย์ 2. ปิยวาจา ให้ความสำคัญกับการสื่อสารสุภาพและให้กำลังใจ 3. อัตถจริยา ครอบคลุมการจัดหาสิ่งจำเป็น การสนับสนุนการศึกษา และส่งเสริมสุขภาพ และ 4. สมานัตตตา เน้นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความมั่นคง
ทางเศรษฐกิจและสุขภาพจิตแก่ประชาชน 4. วิธีการบริหารจัดการงานช่วยเหลือประชาชน ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ 1. การสงเคราะห์ทางวัตถุ มีการแจกจ่ายอาหาร น้ำดื่ม อุปกรณ์ป้องกันโรค ยารักษาโรค และ 2. การสงเคราะห์ทางจิตใจ มีการให้คำปรึกษา สนับสนุนทางจิตใจ เผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้อง
References
ณัฐพร อินทะกันฑ์. (2567). การบริหารปกครองแบบร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐด้านการจัดการแก้ไขวิกฤตปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเรือนจำแห่งหนึ่งในภาคเหนือ. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 7(1), 18-35.
ธัญญารัตน์ สระแก้ว และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2565). รูปแบบการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการช่วยเหลือและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) กรณีศึกษา : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. Journal of Modern Learning Development, 7(2),
-362.
พระครูพิทูรนคราภิรักษ์ (อนุชาติ อยู่ยิ่ง). (2564). การพัฒนาการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์จังหวัดพิจิตร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูไพศาลวัฒนคุณ (สมพร ฐิตปุญฺโญ). (2557). ประสิทธิผลการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของวัดในจังหวัดปทุมธานี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสมุห์ไพทูรย์ สิริภทฺโท. (2564). รูปแบบการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ ในจังหวัดนครปฐม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา
การจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุธรรมธีรานุยุต (ธีรศักดิ์ ธมฺมธีโร) และคณะ. (2565). การบริหารงานเชิงพุทธกับบริบทคณะสงฆ์ไทยในปัจจุบัน. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 5(2), 157-168.
พระราชวัลภาจารย์ (ดาวเรือง อาจารคุโณ). (2564). รูปแบบการสงเคราะห์ประชาชนตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์จังหวัดราชบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมุห์วศิน วิสุทฺโธ (พงษ์ศักดิ์). (2563). พระสงฆ์การจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ : บทบาทและความสำคัญ. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(1),
-366.
พู่กลิ่น ตรีสุโกศล และคณะ. (2566). กรณีศึกษาการบริการวัคซีนแก่ประชากรนอกสถานพยาบาลเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันชุมชน ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(2), 333-344.
ยุทธนา พูนเกิดมะเริง และพิชิต ปุริมาตร. (2557). การบูรณาการหลักการดูแลสุขภาพตามหลักพระพุทธศาสนาของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำวัด (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อัษฎาวุธ สุวัตถี. (2565). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้บ้านเป็นฐานในช่วงวิกฤติโควิด-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 252-267.