กระบวนการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • พระประจักษ์ ปิยสีโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสุธีกิตติบัณฑิต (กฤษฎา กิตฺติโสภโณ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระราชวัชรสารบัณฑิต (ประสาร จนฺทสาโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กระบวนการ, ส่งเสริม, พระปาฏิโมกข์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปในกระบวนการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ 2. ศึกษาองค์ประกอบในกระบวนการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ 3. ศึกษากระบวนการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลภาคสนามจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 4 กลุ่ม จำนวน 20 รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ คือ จุดแข็ง ได้แก่ สำนักเรียนที่จัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ จุดอ่อน ได้แก่ ขาดการสนับสนุนในด้านงบประมาณ ขาดบุคลากร โอกาส ได้แก่ หมุนเวียนพระสงฆ์ขึ้นแสดงปาฏิโมกข์ เปิดโอกาสให้พระสงฆ์ผู้สนใจ และอุปสรรค ได้แก่ ขาดการประชาสัมพันธ์และการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ 2. องค์ประกอบของการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรง
พระปาฏิโมกข์ คือ การวางแผนอย่างเป็นขั้นตอนชัดเจนและเป็นระบบ, การตรวจสอบมาตรฐานการสวดของพระสงฆ์ที่เข้าอบรม, และทำแบบสำรวจประเมินผลประจำปี ปรับปรุงแก้ไขตามความเหมาะสม 3. กระบวนการของการส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ ประกอบด้วย การให้ความรู้ คือ การให้ความรู้แก่พระที่สนใจจะฝึก เน้นชี้แจงประโยชน์ในการลงอุโบสถฟังปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือน ด้านเจตคติ คือ การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเป็นผู้ทรงจำปาฏิโมกข์ และมีทัศนคติที่ดีในการรักษาพระธรรมวินัย ด้านความสามารถ คือ การส่งเสริมความสามารถในการสวดมนต์ของพระสงฆ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้านทักษะ คือ การใช้เทคนิคและวิธีการสอนที่มีนวัตกรรมมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านบุคลิกภาพ คือ การฝึกอบรมเน้นความสำคัญของวินัยและการประพฤติปฏิบัติทางสงฆ์ การดูแลบุคลิกภาพและการเป็นตัวอย่างที่ดี

References

พระนรินทร์ โชติปาโล. (2566). การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดสิงห์บุรีแห่งที่ 1 วัดอัมพวัน (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขา

วิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระใบฎีกาพงษ์ศักดิ์ จนฺทูปโม . (2566). การพัฒนาศักยภาพพระสังฆาธิการของคณะสงฆ์ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดนพรัตน์ สุเมโธ. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ-เพิ่มเติม ช่วงที่ 1) พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหามนัสวี ฐิตธมฺโม. (2562). การส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ทรงพระปาฏิโมกข์ในอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิเชียร ธมมฺวชิโร. (2565). พระวินัย : หลักการป้องกันและแก้ไขปัญหาของพระสงฆ์. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 5(1), 162-175.

พระมหาสุทธิพงษ์ สุทฺธิวํโส. (2562). ภิกขุปาฏิโมกข์ในฐานะเครื่องมือธำรงพระพุทธศาสนา.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(2), 484-495.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01