การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z ของหน่วยงานภาคเอกชนในเขตศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จินต์จุฑา จิตตานุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมบัติ นามบุรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุริยา รักษาเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, กลุ่ม Gen Z

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุ 4 กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z และ 3. ศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z ของหน่วยงานภาคเอกชนในเขตศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ ความมั่นคงในการทำงาน รองลงมาคือ สภาพการ สถานะของอาชีพ เงินเดือนและผลตอบแทนอื่น และโอกาสความ ก้าวหน้าในอนาคต ตามลำดับ 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุ 4 กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z พบว่า หลักสังคหวัตถุ 4 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z ของหน่วยงานภาคเอกชนในเขตศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานครในระดับปานกลาง 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z ของหน่วยงานภาคเอกชนในเขตศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร โดยการมีหลักสังคหวัตถุ 4 ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของกลุ่ม Gen Z ของหน่วยงานภาคเอกชนในเขตศูนย์กลางธุรกิจกรุงเทพมหานคร มากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย 1. ทาน การให้ โดยยินดีให้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ แก่คนอื่นหรือเพื่อนร่วมงาน 2. ปิยวาจา การพูดจาไพเราะ โดยยึดถือและพูดด้วยถ้อยคำที่เป็นจริง พูดคุยเป็นกันเอง พูดจาด้วยคำที่สุภาพและมีประโยชน์ 3. อัตถจริยา การทำตนให้เป็นประโยชน์ โดยหากมีโอกาสจะเป็นจิตอาสา ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นและเพื่อนร่วมงาน 4. สมานัตตา การวางตนเหมาะสม โดยเรียนรู้และยอมรับในพฤติกรรมของบุคคลอื่น ตรงไปตรงมา วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย

References

บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด. (2567). เทรนด์การทำงานของคนรุ่นใหม่...ทำงานอย่างไรให้คน Gen Z อยู่กับองค์กรระยะยาว. สืบค้น 17 เมษายน 2567, จาก https://th.jobsdb.com/th-th/articles/เทรนด์-gen-z/

พระครูวินัยธรยิ่งยง ธมฺมวโร. (2552) ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกะไห อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหากฤษร โชติธมฺโม. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองลำสามแก้ว อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตามหลักสังคหวัตถุ 4 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิงห์คำ มณีจันสุข. (2563). การบริหารจัดการสวัสดิการสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรพร อ่อนพุทธา และคณะ. (2562). ภาวะผู้นำและแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด (มหาชน). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Cochran, W. G. (1963). Sampling Techniques (2nd ed.). New York: John Wile Sons.

HREX.asia. (2024). Gen Z changes jobs often because they have many options. How does this generation think about work?. Retrieved April 20, 2024, from https://shorturl.asia/AxK43

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01