รูปแบบการจัดการสอนวิปัสสนากรรมฐานของวัดในจังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • พระครูกิตติญาณวิจักษ์ (จักรกฤษณ์ กิตฺติญาโณ) วัดเนินตากแดด อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การจัดการสอนวิปัสสนา, ตราด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการจัดการสอนวิปัสสนากรรมฐานของวัดในจังหวัดตราด 2. ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนารูปแบบการจัดการสอนวิปัสสนากรรมฐานของวัดในจังหวัดตราด 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการสอนวิปัสสนากรรมฐานของวัดในจังหวัดตราด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ โดยการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 หรือคนและ ทำการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 11 รูปหรือคน สรุปเป็นความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการจัดการสอนวิปัสสนากรรมฐานของวัดในจังหวัดตราด 1. จุดแข็ง ด้านสถานที่ปฏิบัติธรรมเป็นสถานที่สัปปายะ พระวิปัสสนาจารย์ที่มีบุคลิกภาพที่เป็นที่เคารพ 2. จุดอ่อน ด้านวิทยากรมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการในการปฏิบัติธรรม 3. โอกาส สำนักปฏิบัติธรรม การเดินทางมาปฏิบัติธรรมสะดวก 4. อุปสรรค จังหวัดตราดฝน 8 แดด 4 ทำให้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความไม่สะดวกและ
บางแห่งชุมชนไม่มีความร่วมมือเท่าที่ควร 2. องค์ประกอบการพัฒนารูปแบบการจัดการสอนวิปัสสนากรรมฐานของวัดในจังหวัดตราด 1. ด้านสมถกรรมฐาน พบว่า สมถกรรมฐานจะเน้นที่การนั่งสมาธิ เดินจงกรม และสวดมนต์ เพื่อให้จิตสงบ 2. ด้านวิปัสสนาญาณ พบว่า จัดให้มีการบรรยายธรรมเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยเน้นสอนวิปัสสนาแบบสติปัฏฐานสูตร 3. รูปแบบการจัดการสอนวิปัสสนากรรมฐานของวัดในจังหวัดตราด 1. ด้านสถานที่ พบว่า สำนักปฏิบัติธรรมมีสถานที่เหมาะสม มีที่จอดรถสะดวก มีสิ่งสำคัญอำนวยความสะดวกอุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุ 2. ด้านวิทยากร พบว่า วิทยากรหลายท่านหมุนเวียนสอนเพื่อให้ได้ความรู้ที่หลากหลาย 3. ด้านการบริหารจัดการ พบว่า สำนักปฏิบัติธรรมมีการบริหารจัดการเป็นสัดส่วน มีระบบระเบียบที่ชัดเจน และกำหนดภารกิจผู้รับผิดชอบและมอบหมายหน้าที่อย่างเป็นระบบ

References

นรวัฒน์ เจริญรัชต์ภาคย์ และสุดาวรรณ สมใจ. (2561). รูปแบบการปฏิบัติธรรมการบริหารจัดการ และลักษณะสถานปฏิบัติธรรมที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(1), 168-179.

พระครูภาวนากิจสุนทร (ฉัตรชัย อธิจิตฺโต). (2561). ศึกษารูปแบบและวิธีการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิจิตรธรรมวิภัช (บุญเลิศ ปญฺญาวุโธ). (2562). การพัฒนาการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูศรีรัตนธรรมนิเทศ (ปกานนท์ พิลาพันธุ์). (2556). รูปแบบการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติกัมมัฏฐานของผู้นำชาวพุทธในประเทศอังกฤษ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระใบฎีกาณรงค์ฤทธิ์ ฐานวุทฺโฒ และคณะ. (2564). ศึกษารูปแบบการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานของสำนักปฏิบัติธรรมวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร บาฬศึกษาพทโฆสปริทรรศน์, 7(2), 67-78.

พระใบฎีกาวิจารณ์ ขนฺติโก และศุภกาญจน์ วิชานาติ. (2564). ศึกษารูปแบบการจัดการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมวัดเกริ่นกฐิน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสาร มจร บาฬีพุทธโฆสปริทรรศน์, 7(2), 45-55.

พระพิพัฒน์ โสภณจิตฺโต. (2563). การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอ่างทอง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางปัญญา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01