การพัฒนาการจัดการการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระมหาถาวร ขนฺติวิชฺโช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, พระปริยัติธรรม, แผนกธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. วิเคราะห์สภาพทั่วไป 2. ศึกษากระบวน
3. นำเสนอการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ 10 รูปหรือคน โดยใช้วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา สรุปเป็นความเรียง และการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ จำนวน 273 รูป ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.864 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไป พบว่า จุดแข็งและโอกาส มีการส่งเสริมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง จุดอ่อนและอุปสรรค ในการเรียนการสอนยังล้าสมัยและขาดสื่อการสอนที่น่าสนใจ ผู้บวชเรียนลดลง  2. กระบวนการในการพัฒนา พบว่า ด้านการวางแผน มีการวางแผนตามวัตถุประสงค์ของสำนักเรียน ด้านการจัดองค์การ มีการกำหนดโครงสร้างและแบ่งหน้าที่การทำงาน ด้านการจัดบุคลากรปฏิบัติงาน การคัดเลือกและสรรหาบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน ด้านการอำนวยการ ผู้บริหารมีการควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากร ด้านการประสานงาน มีการประสานงานทั้งภายในและภายนอกสำนักเรียน ด้านการรายงาน มีการสรุปผลการเรียนการสอน ด้านงบประมาณ ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและผู้มีจิตศรัทธา และเมื่อสำรวจความคิดเห็น พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 3. การพัฒนาการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม พบว่า ด้านหลักสูตร ควรมีการปรับปรุงให้น่าสนใจ ด้านการจัดการเรียนการสอน จัดเนื้อหาและกิจกรรมให้สอดคล้องกับผู้เรียน ด้านสื่อการเรียนการสอน มีการใช้สื่อและนวัตกรรมทันสมัยกระตุ้นความสนใจผู้เรียน ด้านเทคนิคการสอน การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผล การกำหนดขอบเขตและออกแบบการวัดและประเมินผล และเมื่อสำรวจความคิดเห็นพบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง

References

กรมการศาสนา. (2539). คู่มือการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.

พระครูวิสุทธิ์ธรรมานุวัตร (สมเกียรติ วิสุทฺโธ). (2561). รูปแบบการส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมจังหวัดชลบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสังฆรักษ์ปัญญาพล ปญฺญาพโล. และคณะ. (2560). การบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรมสู่ความเป็นเลิศ. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 91 104.

พระครูสุวรรณวรการ (พิมพ์ พุทฺธญาโณ). (2557). การพัฒนาการจัดการการศาสนศึกษาแผนกธรรมของคณะสงฆ์ภาค 1 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูอุทัยธรรมานุกูล (สามารถ อิทฺธิญาโณ). (2559). การศึกษาสงฆ์: พระปริยัติธรรมแผนกธรรม. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 3(3), 62-70.

พระมหาการัณย์วิชย์ วิจิตฺตสนฺโต. (2549). สอบธรรมสนามหลวง. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระมหาวรพล วรพโล. (2562). แนวโน้มการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในประเทศไทย. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10(1), 164.

พระมหาอัมราช อมรเสวี. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนของครูและนักเรียนสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 5(3), 199-200.

พระมหาอำนาจ ปวฑฺฒโน. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการการศึกษาพระปริยัติธรรม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

(พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุรีย์ ศิริโภคารภิรมย์. (2556). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: ฝ่ายเอกสารการพิมพ์ สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Yamane, T. (1976). Statistic: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-11