ชุมชนบ้านปงกับการจัดการความมั่นคงด้านอาหาร
คำสำคัญ:
ความมั่นคงทางอาหาร การจัดการความรู้ รูปแบบ การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1. ศึกษาสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในประเด็นผักและผักพื้นบ้านในชุมชน 2. ค้นหารูปแบบการจัดการความมั่นคงด้านอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงหรือความไม่มั่นคงทางอาหารเชิงสังคมและเศรษฐกิจของครัวเรือน จากการศึกษาพบว่า สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพของบ้านปง ตำบลป่าตันนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปางมีความมั่นคงทางอาหารอยู่ในระดับที่ดีกล่าวคือผักพื้นบ้านและผักเศรษฐกิจยังเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของชุมชนการตัดสินใจในการเลือกปลูกยังเป็นของคนที่อยู่ในชุมชนโดยเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมการบริโภคของคนในชุมชน รวมถึงองค์ความรู้ในเรื่องการเก็บเมล็ดพันธุ์ การเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูก
ส่วนรูปแบบการจัดการความมั่นคงด้านอาหารเป็นเรื่องของการจัดการความรู้โดยชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการหารูปแบบการจัดการความมั่นคงทางอาหารผ่านการปลูกพืชผักสวนครัวภายในบริเวณบ้านของตนเอง การปรุงเมนูที่ประกอบไปด้วยผักพื้นบ้านที่สามารถเก็บหาจากบริเวณบ้านซึ่งชุมชนถือว่าเป็นรูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหารที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมและบริบท
ของชุมชน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร