ข้อพิจารณาเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการดักฟังข้อมูลข่าวสารและการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว
คำสำคัญ:
การดักฟังข้อมูลข่าวสาร, ความเป็นส่วนตัว, พยานหลักฐานบทคัดย่อ
บทความนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์กฎหมายว่าด้วยการดักฟังข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศไทยกับในต่างประเทศ โดยที่การดักฟังข้อมูลข่าวสารเป็นมาตรการปราบปรามอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นกระบวนการได้มาซึ่งพยานหลักฐานที่มีความสำคัญและทำให้ภาครัฐสามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้อย่างบรรลุผลในขณะเดียวกัน การดักฟังดังกล่าวก็ส่งผลกระทบต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ
ผลการศึกษาพบว่า การดักฟังข้อมูลข่าวสารของประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายกลางที่จะเข้ามาควบคุมหรือมีสภาพบังคับทำให้การดำเนินการดักฟังข้อมูลข่าวสารโดยภาครัฐเป็นไปได้อย่างมีมาตรฐานหรือมีหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุม บทความนี้จึงมุ่งนำเสนอถึงการนำ เอาแนวทางหรือกระบวนการดักฟัง ข้อมูลข่าวสารตามกฎหมายในต่างประเทศมาใช้บังคับกับการดักฟังข้อมูลข่าวสารในประเทศไทย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทัศนะ ข้อคิดเห็น ภาพที่ปรากฏ ในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้เขียนและวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การตีพิมพ์ชื่อต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน และวิทยาลัยสหวิทยาการโดยตรง และเป็นลายลักษณ์อักษร