พหุวัฒนธรรมภาคใต้ในมิติภูมิรัฐศาสตร์
Abstract
ภาคใต้ของประเทศไทยตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินซุนดาพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มานานกว่า 40,000 ปี มีประชากรดั้งเดิม 2 กุล่มชาติพันธุ์ตั้งถิ่นฐานมานาน ได้แก่ มองโกลอยด์ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของคนไทย ชวา มลายู ฯลฯ และ ออสตราลอยด์ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของคนพื้นเมืองเผ่าเซมัง และซาไก ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ อาทิ เครื่องเทศ แร่ธาตุ และสัตว์ป่าดึงดูดให้ผู้คนต่างภูมิภาคเข้ามาแสวงหาโภคทรัพย์ไม่น้อยกว่า 2,000 ปี ที่ผ่านมา กอรปกับภาคใต้อยู่ในตำแหน่งเส้นทางการเดินเรือระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้ภาคใต้เป็นจุดแวะพักและเกิดเมืองท่าค้าขาย บางเมืองที่มีทำเลเหมาะสม มีพัฒนาการต่อมาเป็นศูนย์กลางของรัฐและอาณาจักรโบราณ พร้อมกับผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์และวัฒนธรรมอยู่ร่วมกันเป็นสังคมชาวภาคใต้ ตัวตนและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนภาคใต้ในแต่ละกลุ่ม มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการของรัฐโบราณในอดีตที่เน้นการขยายอำนาจและแผ่อิทธิพลทั้งด้านการเมืองการปกครอง การค้าและเผยแผ่ศาสนา ต่อเนื่องมาถึงรัฐสมัยใหม่ที่เน้นการมีเขตแดนที่แน่นอนและจัดระเบียบการปกครองตามกฎเกณฑ์ของแต่ละรัฐ ชุมชนและสังคมของคนภาคใต้จึงเป็นผลผลิตของพัฒนาการดังกล่าว การศึกษาวิจัยเพื่อเรียนรู้และเข้าใจความจริงดังกล่าวมีประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันแบบสังคมพหุวัฒนธรรมและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและส่งเสริมวัฒนธรรมที่เน้นตัวตนและอัตลักษณ์ของภาคใต้รวมทั้งการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไปDownloads
How to Cite
หัตถา ค. (2015). พหุวัฒนธรรมภาคใต้ในมิติภูมิรัฐศาสตร์. Asian Journal of Arts and Culture, 15(1), 1–24. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95352
Issue
Section
Academic Articles
License
© 2018 by Asian Journal of Arts and Culture, Walailak University. All rights reserved.