โนราร่วมสมัยในการแสดง ชุด ครู

Authors

  • ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์

Abstract

ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ (2557) โนราร่วมสมัยในการแสดง ชุดครู งานคอนเสิร์ตสานสัมพันธ์ไทย - จีน ครั้งที่ 6 ณ ประเทศจีน

การศึกษางานวิจัยสร้างสรรค์เรื่อง โนราร่วมสมัย ในการแสดงชุดครู งานคอนเสิร์ตสานสัมพันธ์ไทย - จีน ครั้งที่ 6 ณ ประเทศจีน โดยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นการวิจัยสร้างสรรค์เชิงปฏิบัติการ มีจุดมุ่งหมายของการศึกษา ดังนี้

1. ศึกษาวิธีการใช้ศิลปะการแสดงโนรา ในการแสดงร่วมสมัย ชุดครู

2. ศึกษาเอกลักษณ์ของงานสร้างสรรค์ที่สื่อถึงความสัมพันธ์ไทย - จีน

จากการศึกษาพบว่า ศิลปะการแสดงโนราที่นำมาใช้ในการแสดงร่วมสมัยกับชุดครูนี้มี 2 รูปแบบ คือ การใช้กระบวนการร้องรำและการใช้ทักษะการบรรเลงดนตรี กระบวนการร้องใช้บทสรรเสริญครูเพื่อให้นักเต้นร่วมสมัยแสดงวิธีการนุ่งโจงกระเบน สื่อถึงการเริ่มฝึกหัดศิลปะการแสดงทุกประเภทต้องรำลึกถึงคุณครู กระบวนการรำใช้แสดง 3 ครั้ง ช่วงที่ 1 แสดงการรำบทประถม ท่านกแขกเต้า ใช้ดนตรีโนราบรรเลงนำ ช่วงที่ 2 แสดงการรำทำบทใช้ดนตรีผีผาบรรเลงนำ ช่วงที่ 3 แสดงการรำท่าพิเศษ โดยการด้นท่ากับดนตรีทุกชิ้นที่บรรเลงพร้อมกัน คือ ทับ กลอง ปี่ ขลุ่ย ผีผา กลองใหญ่ และซอสามสาย การบรรเลงดนตรีโนรา นักดนตรีแสดงทักษะความชำนาญ บรรเลงทับและกลอง พร้อมกันในช่วงการแสดงที่ 1

เอกลักษณ์สำคัญที่สื่อถึงความสัมพันธ์ไทย - จีน ครั้งที่ 6 คือ การใช้กลองจีน ขนาดใหญ่ 3 ใบ บรรเลงโดยคนไทย การใช้นักดนตรีสิงคโปร์ บรรเลง ดนตรีผีผาของจีนสอดคล้องกับกระบวนรำโนรา การแต่งกายของนักเต้นร่วมสมัยและนักดนตรีตีกลอง ใช้ลวดลายเสื้อผ้ารูปมังกรสีแดง การแสดงร่วมสมัยชุดครู ใช้นักแสดงผู้ชายทั้งหมดที่สามารถสร้างความนิ่มนวลอ่อนหวาน แข็งแรง ตื่นเต้น ครอบคลุมอยู่ในการแสดงอย่างลงตัว ภายในเวลา 4 นาที

 

Thammanit Nikhonrat (2014) Contemporary Nora Dance Performance, Master Series, the 6th Thailand - China Relations Concert held in China.

The research on creative work on Contemporary Nora Dance Performance, Master Series, the 6th Thailand - China Relations Concert, conducted by Chulabhorn Research Institute, aimed at the following.

1. Study on the use of Nora performing arts in performing the contemporary dance performance in the Master Series.

2. Study the identity of creative works conveying the spirit of relationships between Thailand and China.

The findings of the study show that Nora performing art applied in the contemporary dance performance - Master Series consists of two major formats: The application of singing process and accompanied music performance. The singing process utilizes the songs praising the masters allowing contemporary dancers to show how a loincloth is worn. This is intended to inform the audiences that the training for all types of the performing arts is required to pay tribute to all the teachers. The dance process requires three sequences : (1) the primary dance is performed with ‘NokKhaektao’ dance style with the accompanying music performance; (2) RamThamBot is the showing off the ability to interpret the lyrics into a dance movement, with a prelude music by a Chinese instrument, Pipa; (3) specific dance styles are performed with the execution of the dance movements harmoniously in tune with musical rhythms played simultaneously by such instruments as drums, pipes, flutes, Pipas, large drums, three - stringed fiddles. Skillful musicians play the drums (Thab and Klong) simultaneously during the show in the first sequence.

The identity that conveys a relationship between Thailand and China in the 6th Thailand - China Relations Concert is reflected in the use of 3 contemporary costumes worn by the dancers and musician drummers wearing red dragon patterned costumes. The Master Series contemporary dance performance is performed exclusively by male performers who are able to show off their talents with elegance yet with agility of dancing movements providing excitement throughout the show which ends in less than four minutes. large Chinese drums played by Thai musicians, the Pipas played by Singaporean musicians, the harmonious dance performance by Thai Nora dancers, the

Downloads

How to Cite

นิคมรัตน์ ธ. (2015). โนราร่วมสมัยในการแสดง ชุด ครู. Asian Journal of Arts and Culture, 15(1), 25–52. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95353