การพัฒนารูปแบบการสอนอาเซียนศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะ การแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Keywords:
การพัฒนารูปแบบการสอน, อาเซียนศึกษา, ทักษะการคิดวิเคราะห์, ทักษะการแก้ปัญหาAbstract
การพัฒนารูปแบบการสอนอาเซียนศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา(Research & Development) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนอาเซียนศึกษาที่พัฒนาขึ้น ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอาเซียนศึกษา 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอาเซียนศึกษา 4) เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหานักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากการเรียนโดยรูปแบบการสอนอาเซียนศึกษา และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอาเซียนศึกษา ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยทดลอง 4 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 - 3 เป็นขั้นตอนการทดลองใช้และหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนอาเซียนศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งที่ 1 - 3 คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง ในปีการศึกษา2554 - 2555 และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งที่ 4 คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1, 6/2 ประจำปีการศึกษา 2556 จำนวน 87 คน ซึ่งก็คือประชากรทั้งหมดนั่นเอง โดยขั้นนี้เป็นการนำรูปแบบการสอนอาเซียนศึกษาที่ได้รับการพัฒนาจนมีประสิทธิภาพแล้วไปใช้จริง กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง เพื่อนำผลการทดลองมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังการเรียน ศึกษาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน หลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอาเซียนศึกษา และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอาเซียนศึกษา ซึ่งใช้ระยะเวลาทดลองสอนโดยใช้รูปแบบการสอนอาเซียนศึกษารวม 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ รูปแบบการสอนอาเซียนศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหา และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าทีแบบ ไม่อิสระจากกัน (t - testDependent) ค่าเฉลี่ย () และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอนอาเซียนศึกษา มีประสิทธิภาพ 87.36/86.93 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80) และมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.8148 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น0.8148 หรือคิดเป็นร้อยละ 81.48
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอาเซียนศึกษา จากการทดลองครั้งที่ 1 - 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนอาเซียนศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน
3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอาเซียนศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนอาเซียนศึกษามีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจากการเรียนโดยรูปแบบการสอนอาเซียนศึกษา โดยรวม ความสามารถอยู่ในระดับพอใช้
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนอาเซียนศึกษาโดยรวม อยู่ระดับมาก
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
© 2018 by Asian Journal of Arts and Culture, Walailak University. All rights reserved.