การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซิปปา เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ชัชวาลย์ บัวริคาน (Chutchawarn Buarikan)
อาพันธ์ชนิต เจนจิต (Apunchanit Jenjit)
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร (Vetcharit Angganapattarakajorn)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และทักษะเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซิปปากับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซิปปา เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 แผน แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test แบบ t-test for one sample) ผลการวิจัย พบว่า
1. ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซิปปา เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซิปปา เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

LEARNING MANAGEMENT WITH CIPPA MODEL ON PERMUTATION FOR MATHAYOMSUKSA 5 STUDENTS

The objectives of this research were to compare mathematical problem solving skills and mathematical connection skills after using the CIPPA instruction model with standard at 75%. The sample for this research consisted of 24 mathayomsuksa 5 students in the second semester of the academic year 2015 at Princess Chulabhorn's College Chonburi (Regional Science School), Chonburi Province. The sample was randomly selected by using cluster random sampling method. The research instruments consisted of lesson plans in the topic of “PERMUTATION” using CIPPA instruction model, the instruments used in the study were,
8 lesson plans, Test of mathematical problem solving skills and Test of mathematical connection skills. The data were analyzed using t-test for one sample. The results showed that;
1. The mathematical problem solving skill after using the CIPPA instruction model was higher than the 75 percent criterion at .05 level of significance.
2. The mathematical connection skill after using the CIPPA instruction model was higher than the 75 percent criterion at .05 level of significance.

Article Details

How to Cite
(Chutchawarn Buarikan) ช. บ., (Apunchanit Jenjit) อ. เ., & (Vetcharit Angganapattarakajorn) เ. อ. (2017). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซิปปา เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Journal of Education and Innovation, 19(3), 91–102. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/100897
Section
Research Articles